ในปฏิบัติการแต่ละครั้งเราควรประชุมและตกลงกันว่าจะเตรียมการทำอะไรและมีขีดจำกัดแค่ไหน (เช่นไม่พร้อมจะถูกจับ ไม่พร้อมติดคุก) เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าวเราจะได้มีแนวคิดว่ากลุ่มต้องการหรือไม่ต้องการทำอะไร
สมมติสถานการณ์ที่เรามีเวลาตัดสินใจแค่ 2 นาทีเช่น “เรากำลังเดินขบวน ตำรวจให้เวลาสองนาทีที่จะออกจากถนน ไม่อย่างนั้นจะจับให้หมดเราจะตัดสินใจอย่างไร?”
กระบวนการแสวงหาฉันทามติเร่งด่วน
- กำหนดตัวฟาประชุมไว้ล่วงหน้า
- ฟาแจ้งสถานการณ์สั้นๆ ให้ทุกคนเข้าใจ: “เรามีเวลา 2 นาที จะถอนตัวหรือจะยอมถูกจับ”
- ฟาถามหาข้อเสนอ: “มีข้อเสนอไหม?” ในบางกรณีอาจมีเวลาถกเถียงกัน แต่ในหลายกรณีเราไม่มีเวลา ฟาต้องประเมินเวลาและปฏิบัติให้เหมาะสม
- อาจมีคนเสนอว่า “ฉันเสนอให้เราคล้องแขนและนั่งลง” ในบางกรณีเราอาจมีเวลาแก้ไขข้อเสนอฉันมิตร
- ฟาทวนย้ำข้อเสนอให้ชัดเจนแล้วหยั่งหาฉันทามติ: “โอเค มีข้อเสนอให้เรานั่งลงกลางถนนและคล้องแขนกัน มีใครขวางทางไหม?” -“ไม่มี” “มีใครหลีกทางไหม”-“มี ฉันขอถอนตัว ถ้าถูกจับฉันจะถูกไล่ออกจากงาน”
การขวางทาง คือการขีดฆ่าข้อเสนอนั้นทิ้ง เป็นการวีโต้อย่างสิ้นเชิง ทุกคนมีสิทธิขวางทาง ในการแสวงหาฉันทามติเร่งด่วน สมาชิกมักขวางทางด้วย 2 เหตุผล 1. ข้อเสนอนั้นจะทำให้กลุ่มแตก หรือ 2. กลุ่มไม่สามารถตัดสินใจ ถ้าข้อเสนอถูกขวางทาง เราต้องหาข้อเสนอใหม่ บางกลุ่มตั้งเงื่อนไขว่าในการแสวงหาฉันทามติเร่งด่วนเราต้องมีข้อเสนอแย้งก่อนจึงจะขวางทางได้
การหลีกทาง คือยินยอมให้กลุ่มทำตามข้อเสนอ แต่ผู้หลีกทาง เลือกที่จะไม่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการ
การแก้ไขข้อเสนอฉันมิตร คือการช่วยปรับปรุงข้อเสนอ มันไม่ใช่ข้อเสนอใหม่ แต่ทำให้ข้อเสนอเดิมดีขึ้น
ลองใช้แนวทางกระบวนการแสวงหาฉันทามติแบบนี้ในการประชุมกลุ่มหรือขณะปฏิบัติการเคลื่อนไหวดูสิ มันอาจได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ล้วนเป็นบทเรียนของกลุ่มเราที่จะกลับมาถอดบทเรียนและช่วยกันพัฒนากระบวนการที่เจ๋งกว่านี้
Act Lab
Activist Laboratory Thailand
ห้องทดลองนักกิจกรรม
พื้นที่ทดลองไอเดียใหม่ๆ ในการเคลื่อนไหวทางสังคม