9 ค่าพลัง: เครื่องมือประเมินความเข้มแข็งของกลุ่มจัดตั้ง

คำว่า “กลุ่มจัดตั้ง” กินความกว้างกว่าการรวมกลุ่มทำกิจกรรมหรือปฏิบัติการเป็นครั้งคราว แต่การเป็นกลุ่มจัดตั้งหมายถึงกลุ่มที่ทำงานจัดตั้งทั้งสองส่วน คืองานจัดองค์กรและงานจัดการศึกษา กลุ่มจัดตั้งจะเติบโตและเข้มแข็งขึ้นก็ด้วยกระบวนการทำงานทั้งสองส่วนนี้อย่างเข้มข้น

เครื่องมือ 9 ค่าพลังนี้เป็นเกณฑ์เบื้องต้นที่จะช่วยชี้วัดระดับความเข้มแข็งของกลุ่มจัดตั้งเพื่อที่จะประเมินได้ว่ากลุ่มเรายังอ่อนด้านใดหรือน่าจะพัฒนาด้านใดเพิ่มขึ้น เห็นเป็นขั้นบันไดที่จะไปสู่เป้าหมายกลุ่มว่าแต่ละขั้นต้องทำอะไรบ้าง

เครื่องมือนี้กลั่นมาจากประสบการณ์การทำงานของบรรดานักจัดตั้งในยุคของเรา ผู้ที่ทำงานจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ที่มีบทบาทนำในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษนี้ ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่เกณฑ์วัดที่ดีที่สุดหรือไม่อาจใช้เป็นบรรทัดฐานในการประเมินกลุ่มจัดตั้งในแวดวงการเคลื่อนไหวอื่นๆ ได้ เราเชื่อว่าไม่มีเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะวัดความเข้มแข็งของกลุ่มได้มากไปกว่าการที่แต่ละกลุ่มได้เรียนรู้ ลงมือทำ และถอดบทเรียนด้วยตัวเอง

คะแนน

0

1

2

3

เกณฑ์ชี้วัด

1. มีประเด็นของตัวเอง มีเป้าหมายที่กลุ่มต้องการบรรลุ มีธงที่กลุ่มจะไปปักธงให้ได้ (ประเด็นตัวเอง 70% + ปชต. 30%)

ไม่มี

เห็นความสำคัญ กำลังคิด

มีแล้วแต่ยังไม่ชัด ยังลองผิดลองถูกอยู่

มีแล้ว ทำแล้ว

2. มีกระบวนการทำงานที่เป็นประชาธิปไตย ฟังเสียงทุกคน ไม่ใช้อำนาจเหนือ สร้างอำนาจร่วม พัฒนาอำนาจภายใน

นำเดี่ยว

มีการประชุมแต่รุ่นพี่เคาะ

ใช้การโหวต

มีกระบวนการตัดสินใจร่วม

*มีกระบวนการแสวงหาฉันทามติ

3. เชื่อมโยงกับขบวนการประชาธิปไตย

เป็นเอกเทศ ไม่เชื่อมโยง

อธิบายต่อสังคมได้ แต่ยังไม่เชื่อมเชิงรูปธรรม เช่น ยังไม่ได้ปฏิบัติการร่วม

ไปร่วมเป็นมวลชน

มีภารกิจในขบวน เป็นองค์กรร่วมจัด รับภารกิจ

4. เชื่อมโยงกับเครือข่ายในท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายการทำงาน มีเพื่อนทำงาน เช่น เอ็นจีโอ นักธุรกิจ คนเสื้อแดง นักการเมืองฝ่าย ปชต.

ไม่มี อยู่โดดเดี่ยว

เห็นความสำคัญแต่ไม่มี

มีแต่ยังไม่ได้ทำอะไรร่วมกัน

มีการทำงานร่วม (เชิงประเด็นหรือเชิงพื้นที่ก็ได้)

5. มีสมาชิกชัดเจน 5 คนขึ้นไป พร้อมจะนำได้ (มีแกน) มีความต่อเนื่องในการส่งต่อการทำงาน เช่นมีแกนนำแถว 2 แถว 3 แถว 4 มีบทบาทภารกิจชัดเจน มีการขยายสมาชิก สมาชิกมี commitment กับกลุ่ม มีกระบวนการรีครูตคนเข้ากลุ่ม มีการคัดกรองสมาชิก

สมาชิกไม่ชัดเจน นับไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าใช่มั้ย มีการรวมกลุ่มแต่ไม่มีภารกิจ/บทบาท

มีสมาชิกชัดเจนอย่างน้อย 5 คน

มีสมาชิกชัดเจน 5 คนขึ้นไป และสมาชิกแต่ละคนมีบทบาทมีภารกิจชัดเจน

มีสมาชิก 5 คนขึ้นไป มีภารกิจชัดเจน มีแกนแถว 2 แถว 3 มีการทำงานต่อเนื่อง

*ทุกคนพร้อมจะเป็นแกนนำได้

6. เป็นพื้นที่ปลอดภัย กลุ่มรับฟังกันและกัน พูดคุยเรื่องที่คุยที่อื่นไม่ได้ เป็นพื้นที่ที่สมาชิกรู้สึกสบายใจที่จะคุย กล้าแสดงความเห็นโดยไม่โดนรุ่นพี่เบรก กล้าเสนอ กล้าทำผิดพลาดโดยไม่โดนทำร้าย มีวัฒนธรรมเคารพกันไม่ชายเป็นใหญ่ ไม่มีการเหยียดเพศหรือ body shaming มีวัฒนธรรมรักษาความปลอดภัยของกลุ่ม

ไม่มีกระบวนการรับฟัง ไม่มีกระบวนการเยียวยา กลุ่มไม่ซัพพอร์ต

มีพื้นที่ปลอดภัย

มีพื้นที่ปลอดภัย แลกเปลี่ยนได้ทุกเรื่อง มีกระบวนการเยียวยา

มีพื้นที่ปลอดภัย มีกระบวนการเยียวยา และกลุ่มซัพพอร์ต ดูแลจิตใจ

*มีชีวิตรวมหมู่

7. มีกระบวนการออกแบบกิจกรรมที่มุ่งผลลัพธ์ มีตัวชี้วัด ลงมือทำ และมีการถอดบทเรียน

ไม่มีกิจกรรม

คิดแล้วทำเลย ไม่มีการวางแผน

มีการออกแบบวางแผนกิจกรรม ตั้งผลผลิต ตัวชี้วัด เป้าหมายชัดเจน

มีการออกแบบวางแผนกิจกรรม ประเมินความเสี่ยง ถอดบทเรียน และพัฒนากิจกรรมต่อ

8. มีกระบวนการจัดการศึกษาที่ชัดเจน

ไม่มี คุยไปเรื่อย

เห็นความสำคัญแต่ยังไม่มีแบบแผน ทำไม่เป็น ทำบ้างไม่ทำบ้าง

มีแผนการจัดการศึกษาชัดเจน แต่ไม่ได้ยกระดับไปต่อ

มีการออกแบบแผนจัดการศึกษา มีข้อเสนอ บทสรุป ยกระดับความรู้ไปสู่กิจกรรมได้ มีแผนจัดการศึกษาที่มีเป้าหมาย

9. มีทรัพยากรเพื่อบรรลุเป้าหมาย

ไม่มี

ควักกระเป๋าตัวเอง

หาทุนเป็นครั้งๆ ระดมทุนเป็นครั้งคราว โปร่งใสในการทำบัญชีการเงิน

มีทรัพยากรทำงาน อย่างน้อย 1 ปี โปร่งใสในการทำบัญชีการเงิน

*มีแผนระดมทุนระยะยาว

รวมคะแนน

0-9 กลุ่มเราน่าจะพูดคุยทบทวนกำหนดทิศทางกันใหม่

10-18 พยายามอีกหน่อยนะ กลุ่มเรากำลังจะได้เลเวลถัดไป

19-23 กลุ่มเราอัพเลเวลแล้วไปต่อไม่รอละนะ

24-27 กลุ่มเราเข้มแข็งสุดๆ น่าจะแบ่งปันบทเรียนของกลุ่มเรากับกลุ่มอื่นๆ ด้วย

* = โบนัส

หมายเหตุ: เครื่องมือนี้เป็นเกณฑ์สำหรับใช้วัดความเข้มแข็งของกลุ่มจัดตั้ง พัฒนาโดย Act Lab ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเพื่อน กลุ่มปฏิบัติการเฉพาะกิจ กลุ่มกิจกรรม กลุ่มทำงาน กลุ่มที่มีฟังก์ชั่นการทำงานด้านใดด้านหนึ่ง หรือกลุ่ม/องค์กรวิชาชีพ

ข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือ 9 ค่าพลัง

  • เป็นเกณฑ์เบื้องต้นในการประเมินกลุ่มจัดตั้งที่เข้มแข็งนำไปสู่การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย
  • บางข้อขึ้นอยู่กับมุมมอง สมาชิกกลุ่มจึงควรประเมินร่วมกัน
  • ใช้ประเมินทุก 3 เดือน ขึ้นอยู่กับคนที่เอาไปใช้เพื่อปรับแผน ร่วมกันประเมิน 3 เดือนครั้ง
  • สมาชิกกลุ่มอาจให้น้ำหนักแต่ละเรื่องไม่เท่ากันโดยเฉพาะเรื่องละเอียดอ่อนอย่างเรื่องความปลอดภัย เรื่องเพศ ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มจะปรับให้เหมาะสม
  • ทำให้กลุ่มต้องทบทวนกรณีคะแนนต่ำว่าจะเพ่ิมเลเวลอย่างไร ทั้งนี้พึงระวังภาวะกดดันจนกลุ่มสูญเสียความเป็นตัวเอง
  • ในหนึ่งหัวข้ออาจมี 5 ระดับก็ได้หรืออาจให้คะแนน 2.5 ก็ได้ เพื่อให้ละเอียดยิ่งขึ้น แล้วแต่การประเมินร่วมกันของสมาชิก
  • แต่ละกลุ่มมีบุคลิกที่แตกต่างกัน เช่น สายบู๊ สายลุย สายซัพ สายโจมตีวงกว้าง ฯลฯ อาจจะต้องเพิ่มตัวชี้วัดที่ละเอียดขึ้น

จาก 9 ค่าพลัง แบ่งออกเป็น 3 หมวดดังนี้

วิธีการเพิ่มความแข้มแข็งและเกณฑ์วัดการเติบโตของกลุ่มจัดตั้ง

เควส = ภารกิจ เพื่ออัพเลเวล หรือวิธีการในการเพิ่มระดับความเข้มแข็งของกลุ่ม

  1. กระบวนการผลักดันหนุนเสริมให้กลุ่มอัพเลเวลขึ้น
  2. เกณฑ์ชี้วัดว่าอัพเลเวลขึ้นแล้ว

หมวด 1

วิธีการเพิ่มเลเวล

เกณฑ์วัดการเติบโตของกลุ่ม

1. มีประเด็นร่วม

  • ตั้งเป้าหมายกลุ่มร่วมกัน ภาวะที่พึงปรารถนาของกลุ่มคืออะไร
  • ชวนคุยภาพฝัน
  • ตั้งธง วิเคราะห์ปัญหา หาประเด็นที่กลุ่มรู้สึกเป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้โดยมีสัดส่วนประเด็นที่กลุ่มสนใจ 70% กับเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเพื่อ ปชต. 30%
  • คิดกิจกรรมที่ตอบธงของกลุ่ม
  • เผยแพร่ประเด็นของกลุ่มสู่สาธารณะ
  • มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับประเด็นของกลุ่ม
  • มีแผนกิจกรรมที่ชัดเจน มีเป้าหมายการทำกิจกรรม
  • มีการเผยแพร่ประเด็นที่กลุ่มทำอยู่สู่สาธารณะ
  • วิธีการได้มาซึ่งประเด็นร่วมจะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกคนในกลุ่ม
  • สมาชิกกลุ่มต้องตอบได้ว่ากลุ่มทำประเด็นนี้อยู่

2. มีกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย

  • ถอดบทเรียน เคลียร์ปัญหา
  • รู้จักตนเอง รู้จักคนอื่น มีวิธีชวนคุย
  • ฝึกทักษะการนำประชุม การฟัง การตั้งคำถาม เพื่อชวนคุยในกลุ่ม
  • บรรยากาศในการประชุม/ในกลุ่มมีความเป็นประชาธิปไตย ทุกคนเท่าเทียมกัน
  • มีบันทึกการพูดคุย บันทึกข้อเสนอเป็นการยืนยันว่าข้อเสนอของทุกคนสำคัญพอที่จะถูกบันทึกไว้ ได้รับการรับฟังไม่ตกหล่นหายไปไหน
  • มีการจัดสรรเวลาให้คนในกลุ่มได้พูด ทุกคนช่วยกันจัดสรรเวลา
  • กำหนดข้อตกลงร่วมกันก่อนการคุยประชุม
  • มีตัวเลือกของข้อเสนอที่หลากหลายมากกว่าสองทางเพื่อโอบอุ้มทุกคนในกลุ่ม
  • มีการกำหนดวาระการพูดคุย
  • มีผลผลิต เป้าหมายของการประชุม
  • ทุกคนเสนอความเห็นได้โดยไม่มีระบบอาวุโส

7. มีกระบวนการออกแบบกิจกรรมที่มุ่งสู่ผลลัพธ์

  • Logic model ชวนให้เห็นว่ากิจกรรมจะมุ่งผลลัพธ์ยังไง
  • ทำให้เกิดการประชุมต่อเนื่อง ค้นหาโจทย์ที่สมาชิกกลุ่มสนใจ
  • ทำความเข้าใจสภาพกลุ่ม
  • ชวนทดลองทำไปก่อน หล่อเลี้ยงให้สมาชิกอยู่กับกลุ่ม กลุ่มพร้อมซัพพอร์ต
  • ชวนคุยอำนาจ 3 แบบ อำนาจเหนือ อำนาจร่วม อำนาจภายใน
  • เอาเครื่องมือตั้งธงปักดาวไปชวนทำแผน
  • เพิ่มเทคนิคคิดกิจกรรมที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์มากขึ้น ใช้ต้นไม้ปัญหา ต้นไม้ผลลัพธ์ SWOT
  • ให้มีกระบวนการตัดสินใจร่วม สมาชิกต้องมีส่วนออกแบบงานนั้นๆ ด้วยแม้จะคนละหน้างาน
  • ผลลัพธ์ที่ออกมาจากการทำกิจกรรมสอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้
  • กระบวนการออกแบบผลลัพธ์ต้องสอดคล้องกับปัญหา ผลลัพธ์ถูกออกแบบมาเชื่อมโยงกับปัญหา
  • เลือกกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับผลลัพธ์
  • เป้าของกิจกรรมสอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่ม
  • ได้บทเรียนไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว เพื่อการเติบโตของกลุ่ม ทุกกิจกรรมที่ทำต้องได้บทเรียนและมีแนวทางการพัฒนากลุ่มต่อไป
  • มีแผนรองรับการจัดการความเสี่ยงในการทำกิจกรรม
  • มีการเช็กอินเช็กเอาต์ถามความรู้สึก
  • ใช้ 4P ในการออกแบบกิจกรรม
  • สร้างวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น เพลง หนังสือ หนัง
  • วางเป้าหมายก่อน ระหว่าง หลังทำกิจกรรม พอทุกคนเห็นบทบาทหน้าที่ตัวเองแล้วก็จะเห็นเป้าหมาย หลังจากนั้นถอดบทเรียนว่าได้ตามเป้ามั้ย
  • เติมทักษะการพูด การฟา การถาม การทวน

หมวด 2

วิธีการเพิ่มเลเวล

เกณฑ์วัดการเติบโตของกลุ่ม

5. มีสมาชิกชัดเจน คอมมิตกับกลุ่ม ทำงานต่อเนื่อง

  • หนุนเสริมให้เกิดการหาสมาชิก
  • สร้างระบบรองรับเพื่อนที่จะเข้ามาทำกิจกรรม ระดับต่างๆ เพื่อนใหม่ที่เข้ามาช่วงแรก หาภารกิจที่สมาชิกสนใจเฉพาะ นำไปสู่บทบาทดูภาพรวม ขยายและกระจายกลุ่ม
  • มีแผนพัฒนาระดับความสัมพันธ์ ปรับทุกข์ผูกมิตร
  • มีระบบรับรองสมาชิก เช่นมีเพื่อนมารับรองว่าเพื่อนเราปลอดภัยมีที่มาที่ไปชัดเจน
  • วิเคราะห์ก่อนว่ากลุ่มขาดอะไร พลังงานของกลุ่มขาดบุคลิกแบบไหนที่จะมาเติมเต็มให้กลุ่มแล้วจึงเปิดรับตำแหน่งนั้น
  • วิเคราะห์กลุ่มว่าขาดคนทิศไหนใน 4 ทิศ น่าจะเติมทิศไหน หาบุคลิกที่คิดว่าเชื่อมเพื่อนได้
  • มีการรีครูตคน ค้นหาว่าคนที่เราอยากได้จะไปอยู่ที่ไหนเและราจะเจอเขาได้ที่ไหน
  • มีแกนแถวสองที่มีบทบาทชัดเจน
  • มีพื้นที่กลางในการรวมคน ทำให้สมาชิกมาเจอกันพูดคุยกัน
  • มีกระบวนการเชื่อมโยงเป้าหมายส่วนตัวกับเป้าหมายกลุ่ม
  • การรับคนใหม่เกิดจากการรับรองและฉันทามติในกลุ่ม
  • มีบันทึกประวัติ ฐานข้อมูลสมาชิก (เก็บข้อมูลเป็นความลับ)
  • ภารกิจกลุ่มหลากหลายขึ้น เปิดหน้างานได้มากขึ้น
  • สมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้น
  • สมาชิกกลุ่มรู้บทบาทหน้าที่ตัวเอง
  • อัตราไหลออกของสมาชิกน้อยกว่าขาเข้า
  • เลือกคนตามความถนัด แต่มีโอกาสพัฒนาความเชี่ยวชาญบางอย่าง หมุนเวียนเปลี่ยนงานได้
  • รู้จักตัวเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็ง
  • เร่ิมจากภารกิจเล็กๆ ก่อน
  • จิตใจรับใช้กลุ่ม 4D5ร่วม – ใช้แรงงานดี ศึกษาดี สร้างแกนดี สัมพันธ์ดี ร่วมใช้แรงงาน ร่วมกิน ร่วมศึกษา ร่วมทุกข์
  • ความปลอดภัย มีบัตรนักศึกษา
  • กลุ่มมีระบบเศรษฐกิจ/ทรัพยากรพื้นฐานที่รองรับคนได้ กลุ่มมีทรัพยากรพื้นฐานสำหรับภารกิจเล็กๆ กลุ่มมีสวัสดิการพื้นฐานสำหรับสมาชิก มีปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อให้เกิดวงคุย
  • มีตัวตนในกลุ่ม มีการเฉลิมฉลอง
  • วัฒนธรรมกลุ่ม มีความใส่ใจ เคารพกันและกัน
  • ความฝันส่วนตัวกับความฝันกลุ่มต้องไปด้วยกัน
  • สมาชิกอยากชวนเพื่อนมาร่วมกิจกรรมของกลุ่ม
  • มีลำดับขั้นของภารกิจที่จะให้สมาชิกตามความยากง่าย

6. พื้นที่ปลอดภัย

  • สร้างมติร่วมในการอยู่ร่วมกัน ข้อตกลงร่วม การทำค่าย อยู่ร่วมกันในพื้นที่
  • ค่ายเกมเพื่อการพัฒนา
  • ทักษะการฟัง การฟา
  • ทำให้รู้จักกันมากขึ้นด้วยเครื่องมือกราฟชีวิต สายธารชีวิต ภูเขาน้ำแข็ง (วิเคราะห์ปรากฏการณ์ปัญหาชีวิต)
  • การสร้างพลังกลุ่ม มีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน เช่น ใช้เกมเพื่อให้เห็นพลังกลุ่ม การเดินป่า เล่นกีฬา การปฏิบัติการด้วยกัน
  • มีการซัพพอร์ตกันเรื่องคดี ประสานช่วยกัน มีคนทำข้อมูล
  • มีบ้าน มีพื้นที่ทางกายภาพให้รวมตัว บ้านที่มีชีวิต บ้านที่มีกิจกรรมอยู่ตลอด
  • พื้นส่วนตัว / พื้นที่ส่วนกลาง หลักสูตรกลาง ที่ทำได้ในบ้าน ทำให้บ้านมีชีวิต มีการจัดการเก็บบ้าน
  • ส่งต่อให้นักบำบัดมืออาชีพ (เช่นบ้านฟื้น)
  • กำหนดความถี่ในการเยียวยา
  • มาหากันบ่อยขึ้น อยากมาเจอกัน ไม่ใช่มาเพราะมีกิจกรรมเท่านั้น
  • มีสมาชิกเพ่ิมขึ้น
  • สมาชิกกลุ่มไม่รู้สึกเคว้งคว้างมีงานทำ
  • แชร์เรื่องส่วนตัวกันได้ แบ่งปันความทุกข์ ความไม่สบายใจ
  • กล้าทำอะไรพิเรนทร์ๆ ไม่เกร็ง สบายๆ
  • กล้าขัดแย้งกัน ขัดแย้งแล้วกลุ่มไม่แตกแต่กลุ่มพัฒนาเติบโตต่อ
  • กลุ่มเกิดบทเรียนจากความขัดแย้ง
  • วงนินทาในกลุ่มน้อยลงจนถึงไม่มีเลย
  • กลุ่มเป็นเบาะรองรับให้กับความผิดพลาด (ทุกคนได้ฝึก ผิดพลาดได้)
    มีกระบวนการสะท้อนกลับ
  • วิจารณ์กันตรงไปตรงมา
  • ขัดแย้งระดับหลักการ อยู่ด้วยกันไม่ได้ แต่ถ้าขัดแย้งเรื่องส่วนตัวต้องถูกจัดการในฐานะชีวิตรวมหมู่ (วงสามัคคีวิจารณ์)
  • วงเปิดใจ วงสามัคคีวิจารณ์ (คนพาทำ ตัวกลางที่คนยอมรับ)
  • มีกระบวนการรับฟังตัวต่อตัว
  • ทบทวน boundary ของแต่ละคน กราวดิ้ง
  • จริงใจ ดูแลกัน ไว้ใจกัน
  • เปิดพื้นที่ให้ขัดแย้งกันได้
  • กรณีแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ได้ในกลุ่มให้กลับไปดูเป้าหมาย เอางานเป็นตัวตั้ง
  • มีชื่อจัดตั้งเพื่อไม่ให้เกี่ยวโยงถึงครอบครัวได้
  • มีการประเมินความเสี่ยงตลอดทุกกิจกรรม
  • มีกระบวนการลงโทษ ไม่ปล่อยผ่าน
  • ข้อมูลกลุ่มไม่รั่วไหลสู่คนนอก
  • มีวัฒนธรรมรักษาความปลอดภัยของกลุ่ม

8. กระบวนการจัดการศึกษา

  • กำหนดเนื้อหาหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายกลุ่ม
  • มีทีมจัดการศึกษา
  • มีแบบแผน
  • มีรูปแบบการจัดการศึกษา เช่น ดูหนังการเมือง อ่านหนังสือ ชวนไปปฏิบัติ ทำ มีการวางข้อตกลงในการเรียนรู้
  • มีการบันทึกสรุปเนื้อหาความคิดเห็น
  • มีการสรุปเนื้อหา
  • กลุ่มศึกษาต้องเห็นประเด็นร่วมกัน มีความสนใจในประเด็นร่วมกัน
  • ประเมินสมาชิกกลุ่มคนเก่าคนใหม่จะได้จัดแผนให้ตรงกับระดับ
  • จัดวงศึกษาเดือนละครั้ง มีการร่วมจัดวงศึกษาหลักสูตรกลางสำหรับสามกลุ่ม เดือนละครั้ง ประเด็นสนใจเฉพาะกลุ่ม มีหลักสูตรกลาง
  • เนื้อหาหลักสูตร
    1. เนื้อหาความรู้ในการวิเคราะห์สังคมนำไปสู่การต่อสู้
    2. การศึกษาเฉพาะประเด็น เช่น 112 โครงสร้างทุนไทย อำนาจนิยม เฟมินิสต์ ฯลฯ เอาไว้วิเคราะห์อำนาจนิยมในโรงเรียน เช่น จะต่อสู้กับโรงน้ำตาลก็ต้องจัดการศึกษาเฉพาะประเด็น
    3. จัดการศึกษาในแง่ทักษะต่างๆ
  • วงธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
  • มีเอกสารอ้างอิงให้ไปศึกษาต่อ ชี้เป้ากระตุ้นเพ่ิมเติม
  • การมี output ของการจัดการศึกษา ศึกษาแล้วมีที่เผยแพร่ มี output ออกมาทุกครั้ง เช่นทำจุลสาร นิทรรศการ
  • เอาคนจากที่อื่นมาแลกเปลี่ยน
  • พากลุ่มไปดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสวนาข้ามกลุ่มข้ามพื้นที่ ช่วยกระตุ้นกลุ่ม
  • มีข้อเสนอจากวงจัดการศึกษา
  • มีการถอดบทเรียนกลุ่มศึกษา ศึกษามาระยะหนึ่งแล้วไปต่อได้มั้ยหรือต้องปรับเปลี่ยนอะไร มีการประเมินผลการเรียนรู้
  • ผลลัพธ์ของการศึกษาสอดคล้องกับเป้าหมาย
  • สมาชิกในกลุ่มสามารถแลกเปลี่ยนแสดงความเห็นในเนื้อหาที่ศึกษาได้
  • สามารถเอาเนื้อหาที่ศึกษาเอามาใช้ในปฏิบัติการได้ เอาสิ่งที่ได้จากการจัดการศึกษาไปปฏิบัติ
  • Active learning มีการถกเถียงเนื้อหาที่จัดการศึกษา ไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว เข้าใจอะไรใหม่ เรียนรู้อะไรเพิ่ม
  • ประเด็นจากวงจัดการศึกษา
  • ส่งต่อเชื่อมโยงกับกลุ่มปัญหาได้
  • พื้นฐานที่ควรรู้เช่นประวัติศาสตร์การเมืองไทย การคิดออกแบบยุทธศาสตร์

9. มีทรัพยากรเพื่อบรรลุเป้าหมาย

  • ขายของ
  • เปิดรับบริจาค
  • เขียนโครงการ
  • ประเมินความคุ้มค่าของการใช้จ่าย
  • ดูแลทรัพย์สิน ดูแลอุปกรณ์ไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว
  • Survey ของบริจาค หาแหล่งทรัพยากร เช่น วัด มูลนิธิ สิ่งของที่ขายได้
  • ทำกับข้าวกินเอง ลดต้นทุน
  • มียุทธศาสตร์ในการหาทุนระดมทุน
  • มีการประเมินกำลังของทรัพยากร
  • ใช้หลักการ 4P ในการขายของหาทุน
  • ประสานแนวร่วม แบ่งปันทรัพยากร ขอเช่าหยิบยืม นัดพบเครือข่ายในท้องถิ่นขอใช้ห้องประชุม ฯลฯ
  • เขียนแผนการเงิน มีแผนการเงิน การใช้จ่าย การลงทุน
  • มีแผนการใช้ทรัพยากรจากแหล่งทุนต่างๆ ชัดเจนกับกิจกรรมที่วางไว้
  • มีระบบการบริหารจัดการบัญชีทั้งรายรับและรายจ่ายที่สัมพันธ์กัน
  • มีการทำสถิติเก็บข้อมูลค่าบำรุงอุปกรณ์
  • สำนึกว่านี่คือเงินบริจาค
  • กำหนดอัตราส่วนที่จะใช้เงินกองกลาง บางคนไม่กิน มีบทสนทนาที่จะตั้งคำถามว่าเขาให้เงินมาทำสิ่งนี้หรือเปล่า
  • มีข้อตกลงร่วมกันเรื่องการใช้เงิน
  • ใช้แหล่งทุนนั้นๆ กับกิจกรรมนั้นๆ หาแหล่งทุนให้เหมาะสมกับกิจกรรม
  • บังคับให้เปิดบัญชี โปร่งใสตรวจสอบได้
  • จัดอีเวนต์ระดมทุน (เปิดบ้าน จัดคอนเสิร์ต)
  • มีงบคงคลัง
  • ทำสหกรณ์ กลุ่มออมทรัพย์ในกลุ่ม
  • ทำ mapping ว่าในพื้นที่ตัวเองใครอยู่ในระดับไหนบ้าง แผนที่มวลชน องค์กรไหนที่เราสัมพันธ์อยู่
  • มีทักษะการเขียนโครงการ การคุยกับแหล่งทุน

หมวด 3

วิธีการเพิ่มเลเวล

เกณฑ์วัดการเติบโตของกลุ่ม

3. เชื่อมโยงกับขบวนการประชาธิปไตย

  • มีการอธิบายกลุ่มตัวเองกับขบวน ปชต.
  • มีการวิเคราะห์ขบวนว่ากลุ่มอยู่ตรงไหนของขบวน
  • มีทีมประสานเชื่อมกับขบวน
  • การมีภารกิจ บทบาทหน้าที่ มีปฏิบัติการร่วมกันกับแนวร่วม
  • หาจุดเกาะเกี่ยวเชื่อม ระหว่างเป้าหมายกลุ่มกับเป้าหมายขบวน
  • ท่าทีเชิงอำนาจ ลดอีโก้ตัวเองลง
  • ตระหนักว่าเราคือส่วนหนึ่งของขบวน
  • ตั้งเป้าหมายร่วม
  • กำหนดจังหวะการเคลื่อนไหวและกำหนดภารกิจร่วมกับคนอื่น
  • ขยายความสามารถร่วมกันของกลุ่ม ทำให้ทุกกลุ่มเป็นผลรวมของ
    1 + 1 > 2
  • ตระหนักว่าเราไม่ใช่เห็บเหาของขบวน เราคือองคาพยพหนึ่งของขบวน
  • รับฟังข้อกังวล ยอมรับข้อจำกัดเพื่อน ไม่ใช้ท่าทีกดดัน
  • การคุยเตรียมไม่ใช่การล็อบบี้
  • ไม่ต้องเป็นนางแบก ไม่ต้องดีเฟนต์
  • เราช่วยเขาเขาช่วยเรา เอาแรง วัฒนธรรมเอามื้อเอาแรงหนุนเสริมกัน
  • มีขบวนการเคลื่อนไหวขนาดใหญ่ที่ไม่ทิ้งตัวตนของกลุ่ม
  • มีการรับภารกิจร่วมกับเครือข่าย มีส่วนร่วมในการคุยการออกแบบและกำหนดภารกิจร่วมกัน
  • สามารถติดต่อประสานเครือข่ายได้ไม่ถูกปฏิเสธ
  • พูดคุยถกเถียงแลกเปลี่ยนได้อย่างสนิทใจ
  • มีการเคลื่อนไหวในระดับภาคที่เข้มแข็ง
  • การข้ามกลุ่มข้ามจังหวัดทำให้การทำงาน
  • ตัวแทนกลุ่มเข้าร่วมพูดคุยอัปเดตกับขบวนอย่างต่อเนื่อง สามสี่เดือนครั้ง ให้รับรู้ว่ากลุ่มไหนทำอะไรอยู่
  • เสียงที่เท่ากันของกลุ่ม ในฐานะส่วนหนึ่ง
  • เตรียมประเด็นก่อนประชุม
  • มีการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการประชุมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เชื่อมเครือข่ายในท้องถิ่น มีเพื่อนทำงาน

  • เดินสายเชื่อมเครือข่าย
  • หาประเด็นกลุ่มเราไปคุยเชื่อมกับเขา (ประเด็นกลุ่ม)
  • ทำสายรุ้งพันธมิตร ทำ mapping เราจะได้มีแผนไปหาคน กำหนดท่าทีเรา
  • ทำความเข้าใจสภาพพื้นที่นั้นๆ
  • มีฐานความรู้ประเด็นพื้นที่ไปคุย เครือข่ายไหนทะเลาะกับเครือข่ายไหน
  • เกาะติดมิตร เกาะติดศัตรู เกาะติดภูมิประเทศ
  • มีการคุยกับกลุ่มก่อนไปลงมติร่วมกับเครือข่าย
  • ไม่เป็นภาระเครือข่าย
  • สรุปรายงานให้เพื่อนฟังโดยคนที่ไปเชื่อมเครือข่าย
  • สำนึกว่ากลุ่มเดียวไม่ชนะแต่ต้องรวมกัน
  • การเชื่อมเครือข่ายไม่ได้เชื่อมด้วยวงประชุมอย่างเดียวแต่เชื่อมด้วยการไปเยี่ยมเยือน
  • มีหลายช่องทางในการเชื่อมเครือข่าย เช่น แชร์เพจ
  • รู้จักเครือข่าย เชื่อมองค์กรเพื่อนในภูมิภาคกลุ่มละอย่างน้อย 5 องค์กร
  • มีกิจกรรมร่วมกับเครือข่าย
  • เกิดการข้ามเครือข่าย
  • เชื่อมโยงดาวธงหากันได้
  • เครือข่ายมีการเอามื้อเอาแรงกัน
  • มีการค้นหาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเพื่อค้นหาประเด็นเชิงโครงสร้าง
  • มีการผลักดันประเด็นร่วม / ปัญหาเชิงโครงสร้างร่วมกัน