“กลุ่มเราแข็งแกร่งแค่ไหน
มาวัดค่าพลังกลุ่มกับแบบทดสอบนี้กันเลย”
เก้าค่าพลัง: เครื่องมือประเมินความเข้มแข็งของกลุ่มจัดตั้ง
เก้าค่าพลังเป็นเกณฑ์เบื้องต้นที่จะช่วยชี้วัดระดับความเข้มแข็งของกลุ่มจัดตั้งเพื่อที่จะประเมินได้ว่ากลุ่มเรายังอ่อนด้านใดหรือน่าจะพัฒนาด้านใดเพิ่มขึ้น ทั้งเก้าข้อนี้เป็นเสมือนขั้นบันไดที่จะพากลุ่มไปสู่เป้าหมายโดยประมวลให้เห็นว่าแต่ละขั้นต้องทำอะไรบ้าง เครื่องมือนี้กลั่นมาจากประสบการณ์การทำงานของบรรดานักจัดตั้งในยุคของเรา ผู้ที่ทำงานจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ที่มีบทบาทนำในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษนี้ ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่เกณฑ์วัดที่ดีที่สุดหรือไม่อาจใช้เป็นบรรทัดฐานในการประเมินกลุ่มจัดตั้งในแวดวงการเคลื่อนไหวอื่นๆ ได้ เราเชื่อว่าไม่มีเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะวัดความเข้มแข็งของกลุ่มได้มากไปกว่าการที่แต่ละกลุ่มได้เรียนรู้ ลงมือทำ และถอดบทเรียนด้วยตัวเอง
เริ่มต้นทำแบบทดสอบกันเลย คลิกทีละแผ่น
แล้วให้คะแนนแต่ละข้อลงในกราฟนี้
01
กลุ่มเรามีประเด็นของตัวเอง มีเป้าหมายที่กลุ่มต้องการบรรลุ มีธงที่กลุ่มจะไปปักธงให้ได้หรือไม่ (กรณีกลุ่มจัดตั้งที่มีปฏิบัติการขับเคลื่อนประชาธิปไตย ควรมีสัดส่วนประเด็นตัวเอง 70% + ประเด็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย 30%)
= กลุ่มยังไม่มีประเด็นของตัวเองชัดเจน พึ่งเร่ิมต้นรวมคนที่สนใจคล้ายๆ กัน
= กลุ่มเห็นความสำคัญของการตั้งเป้าหมาย กำลังคิด
= มีแล้วแต่ยังไม่ชัด ยังลองผิดลองถูกอยู่
02
กลุ่มเรามีกระบวนการทำงานที่เป็นประชาธิปไตย ฟังเสียงทุกคน ไม่ใช้อำนาจเหนือ สร้างอำนาจร่วม พัฒนาอำนาจภายในหรือไม่
= มีการประชุมแต่รุ่นพี่เคาะ ตัดสินใจให้
= ใช้วิธีการโหวตเสียงข้างมาก
= มีกระบวนการตัดสินใจร่วม มีกระบวนการแสวงหาฉันทามติในกลุ่ม
03
กลุ่มเราเชื่อมโยงกับขบวนการประชาธิปไตยหรือไม่
= เป็นเอกเทศ ไม่เชื่อมโยง
= อธิบายต่อสังคมได้ แต่ยังไม่เชื่อมเชิงรูปธรรม เช่น ยังไม่ได้ปฏิบัติการร่วม
= มีภารกิจในขบวน เป็นองค์กรร่วมจัด รับภารกิจ
04
กลุ่มเราเชื่อมโยงเครือข่ายในท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายการทำงาน มีเพื่อนทำงาน เช่น เอ็นจีโอ นักธุรกิจ คนเสื้อแดง นักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย บ้างหรือไม่
= มีแต่ยังไม่ได้ทำอะไรร่วมกัน
= มีการทำงานร่วมกันไม่ว่าเชิงประเด็นหรือเชิงพื้นที่
05
กลุ่มเรามีสมาชิกชัดเจน 5 คนขึ้นไป พร้อมจะนำได้ (มีแกน) มีความต่อเนื่องในการส่งต่อการทำงาน เช่นมีแกนนำแถว 2 แถว 3 แถว 4 มีบทบาทภารกิจชัดเจน มีการขยายสมาชิก สมาชิกมี commitment กับกลุ่ม มีกระบวนการรีครูตคนเข้ากลุ่ม มีการคัดกรองสมาชิกหรือไม่
= สมาชิกไม่ชัดเจน นับไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าใช่มั้ย มีการรวมกลุ่มแต่ไม่มีภารกิจ/บทบาท
= มีสมาชิกชัดเจนอย่างน้อย 5 คน
= มีสมาชิกชัดเจน 5 คนขึ้นไป และสมาชิกแต่ละคนมีบทบาทมีภารกิจชัดเจน
= มีสมาชิก 5 คนขึ้นไป มีภารกิจชัดเจน มีแกนแถว 2 แถว 3 มีการทำงานต่อเนื่อง ทุกคนนำได้
06
กลุ่มเป็นพื้นที่ปลอดภัยหรือไม่ มีการรับฟังกันและกัน พูดคุยเรื่องที่คุยที่อื่นไม่ได้ เป็นพื้นที่ที่สมาชิกรู้สึกสบายใจที่จะคุย กล้าแสดงความเห็นโดยไม่โดนรุ่นพี่เบรก กล้าเสนอ กล้าทำผิดพลาดโดยไม่โดนทำร้าย มีวัฒนธรรมเคารพกันไม่ชายเป็นใหญ่ ไม่มีการเหยียดเพศหรือ body shaming มีวัฒนธรรมรักษาความปลอดภัยของกลุ่มหรือไม่
= ไม่มีกระบวนการรับฟัง ไม่มีกระบวนการเยียวยา กลุ่มไม่ซัพพอร์ต
= มีพื้นที่ปลอดภัย แลกเปลี่ยนได้ทุกเรื่อง มีกระบวนการเยียวยา
= มีพื้นที่ปลอดภัย มีกระบวนการเยียวยา และกลุ่มซัพพอร์ต ดูแลจิตใจ มีชีวิตรวมหมู่
07
กลุ่มเรามีกระบวนการออกแบบกิจกรรมที่มุ่งผลลัพธ์ มีตัวชี้วัด ลงมือทำ และมีการถอดบทเรียนหรือไม่
= คิดแล้วทำเลย ไม่มีการวางแผน
= มีการออกแบบวางแผนกิจกรรม ตั้งผลผลิต ตัวชี้วัด เป้าหมายชัดเจน
= มีการออกแบบวางแผนกิจกรรม ประเมินความเสี่ยง ถอดบทเรียน และพัฒนากิจกรรมต่อ
08
กลุ่มเรามีกระบวนการจัดการศึกษาที่ชัดเจนหรือไม่
= เห็นความสำคัญแต่ยังไม่มีแบบแผน ทำไม่เป็น ทำบ้างไม่ทำบ้าง
= มีแผนการจัดการศึกษาชัดเจน แต่ไม่ได้ยกระดับไปต่อ
= มีการออกแบบแผนจัดการศึกษา มีข้อเสนอ บทสรุป ยกระดับความรู้ไปสู่กิจกรรมได้ มีแผนจัดการศึกษาที่มีเป้าหมาย
09
กลุ่มเรามีทรัพยากรเพื่อบรรลุเป้าหมายหรือไม่
= หาทุนเป็นครั้งๆ ระดมทุนเป็นครั้งคราว โปร่งใสในการทำบัญชีการเงิน
= มีทรัพยากรทำงานอย่างน้อย 1 ปี โปร่งใสในการทำบัญชีการเงิน มีแผนระดมทุนระยะยาว
เมื่อทำแบบทดสอบครบทุกข้อแล้วลองรวมคะแนนกันเลย ช่วงคะแนนที่ได้สะท้อนความเข้มแข็งของกลุ่มในระดับต่างๆ ดังนี้
= กลุ่มเราน่าจะพูดคุยทบทวนกำหนดทิศทางกันใหม่
= พยายามอีกหน่อยนะ กลุ่มเรากำลังจะได้เลเวลถัดไป
= กลุ่มเราอัพเลเวลแล้วไปต่อไม่รอละนะ
= กลุ่มเราเข้มแข็งสุดๆ น่าจะแบ่งปันบทเรียนของกลุ่มเรากับกลุ่มอื่นๆ ด้วย
เก้าค่าพลังเป็นเกณฑ์เบื้องต้นในการวัดความเข้มแข็งของกลุ่มจัดตั้ง เครื่องมือนี้พัฒนาโดย Act Lab จึงอาจไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเพื่อน กลุ่มปฏิบัติการเฉพาะกิจ กลุ่มกิจกรรม กลุ่มทำงาน กลุ่มที่มีฟังก์ชั่นการทำงานด้านใดด้านหนึ่ง หรือกลุ่ม/องค์กรวิชาชีพเฉพาะด้าน
ข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือ 9 ค่าพลัง
- เป็นเกณฑ์เบื้องต้นในการประเมินกลุ่มจัดตั้งที่เข้มแข็งนำไปสู่การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย
- บางข้อขึ้นอยู่กับมุมมอง สมาชิกกลุ่มจึงควรประเมินร่วมกัน
- ใช้ประเมินทุก 3 เดือน ขึ้นอยู่กับคนที่เอาไปใช้เพื่อปรับแผน ร่วมกันประเมิน 3 เดือนครั้ง
- สมาชิกกลุ่มอาจให้น้ำหนักแต่ละเรื่องไม่เท่ากันโดยเฉพาะเรื่องละเอียดอ่อนอย่างเรื่องความปลอดภัย เรื่องเพศ ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มจะปรับให้เหมาะสม
- ทำให้กลุ่มต้องทบทวนกรณีคะแนนต่ำว่าจะสร้างความเข้มแข็งขึ้นได้อย่างไร ทั้งนี้พึงระวังภาวะกดดันจนกลุ่มสูญเสียความเป็นตัวเอง
- ในหนึ่งหัวข้ออาจมี 5 ระดับก็ได้หรืออาจให้คะแนน 2.5 ก็ได้ เพื่อให้ละเอียดยิ่งขึ้น แล้วแต่การประเมินร่วมกันของสมาชิก
แต่ละกลุ่มมีบุคลิกที่แตกต่างกัน เช่น สายบู๊ สายลุย สายซัพ สายโจมตีวงกว้าง ฯลฯ สามารถเพิ่มตัวชี้วัดที่ละเอียดขึ้นได้หากกลุ่มเห็นตรงกัน