สายรุ้งพันธมิตรเป็นเครื่องมือที่ใช้อ่านกลุ่มเป้าหมาย ประเมินสมรภูมิ รวมทั้งใช้นิยามตัวเอง เพราะการนิยามตัวเองว่าเราคือใครส่งผลอย่างสำคัญต่อการเคลื่อนไหว
สายรุ้งพันธมิตรจำแนกคนที่เกี่ยวข้องออกเป็น 7 กลุ่ม แต่ละกลุ่มเราจะทำงานโดยใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกัน
กลุ่มเป้าหมาย
ความหมาย
กลยุทธ์ที่ใช้
เรา
(Leading Activists)
นิยามตัวเราหรือกลุ่มของเราในการรณรงค์ครั้งนี้
ให้กำลังใจ เกื้อกูลดูแล เยียวยา ให้เสียงสะท้อน
คู่กรณี
(Leading Opponents)
คู่กรณีไม่ใช่ศัตรู เพียงอยู่ฝั่งตรงข้ามกับเราในกรณีนั้นๆ คู่กรณีคือคนมีอำนาจตัดสินใจเรื่องนี้โดยตรง
ไม่มุ่งโจมตีตัวบุคคลแต่มุ่งโจมตีตัวปัญหา เปิดโอกาสให้เขาเปลี่ยนใจได้ แฉเปิดโปงความต้องการที่แท้จริงของเขา
กลุ่มผู้สนับสนุนเรา
(Active Allies)
หรือ พันธมิตรของเรา
คนที่คอยช่วยเหลือเรา พันธมิตรที่ตื่นตัวจะต้องมีการกระทำบางอย่างที่ช่วยสนับสนุนด้วย
เสริมพลังให้พวกเขาทำตามบทบาทของตนเอง ทำงานร่วม รักษาการติดต่อและเพิ่มบทบาทให้เขาเห็นความสำคัญของตนและเห็นว่าเขามีประโยชน์ต่อเรา
กลุ่มผู้เห็นด้วยกับเรา
(Passive Allies)
คนที่เห็นด้วยกับประเด็นรณรงค์ของเรา แต่ยังไม่ลงมือทำอะไรในประเด็นนี้
สร้างการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น เปิดช่องให้เขา เสนอช่องทางสนับสนุน เสริมพลัง ให้พวกเขาเข้าใจกระบวนการทำงานของเรามากขึ้น
กลุ่มผู้สนับสนุนคู่กรณี
(Active Opponents)
หรือพันธมิตรของคู่กรณี
ผู้ได้รับประโยชน์จากการกระทำหรือไม่กระทำของคู่กรณี มีปฏิบัติการ/สนับสนุนทรัพยากรแก่คู่กรณี
- ให้ดูความกลัวหรือความต้องการเขา เราต้องรับรู้และเข้าใจความต้องการและสิ่งที่เขากลัว
- ทำให้งง หรือสับสนกับบทบาทตัวเองว่าฉันมาช่วยคู่กรณีทำไม
กลุ่มผู้เห็นด้วยกับคู่กรณี
(Passive Opponents)
คนที่เห็นด้วยกับคู่กรณีแต่ไม่ได้ออกมาทำอะไร
- อย่าทำอะไรที่กระตุ้นให้คนกลุ่มนี้ทำอะไร เพราะถ้าเขาทำหรือมีการแอ๊กชั่นเมื่อไรเขาจะกลายไปเป็นพันธมิตรของฝ่ายคู่กรณีทันที
- เปิดโอกาสให้เขาเปลี่ยนใจ หรือเปลี่ยนจุดยืนได้ด้วย
กลุ่มรอตัดสินใจ
(Oblivious Neutrals)
ไม่ใช่คนทั่วไป พวกเขาเป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นรณรงค์แต่ยังไม่ตัดสินใจที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พร้อมรับข้อมูลของแต่ละฝ่าย
ให้ข้อมูลเขา ต้องชนะใจเขาให้ได้ เป็นกลุ่มที่เราต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเอาไว้