เครื่องมือนำทางเราสู่ชุดคำถามเชิงวิเคราะห์ที่จะช่วยวางแผนปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละแฉกดาวประกอบด้วยชุดคำถามเพื่อปรับแผนปฏิบัติการของเรา
(เครื่องมือนี้พัฒนาโดย Beyond the Choir, ที่มา: https://www.nonviolence.wri-irg.org/en/node/40522)
ความอยุติธรรมในสังคมมีมากมายเหลือเกิน บ่อยครั้งเราทุ่มเทพลังมหาศาลไปกับปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นแต่ผลลัพธ์ดูจะเบาบางดั่งขนนก แต่ก็มีหลายครั้งที่ปฏิบัติการของเราส่งผลสะเทือนจนก่อเกิดการเปลี่ยนแปลง
แน่นอนว่ามันขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง แต่ปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการวางแผนปฏิบัติการอย่างมีกลยุทธ์
ดวงดาวกลยุทธ์เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือช่วยคิดปฏิบัติการ ช่วยในการวางแผนปฏิบัติการอย่างมีกลยุทธ์
ปฏิบัติการนั้นจะมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลเพียงใดขึ้นกับเราตอบชุดคำถามแต่ละแฉกดาวได้มากแค่ไหน
เริ่มจากแฉกบนสุดคือเป้าหมายและยุทธศาสตร์หมุนตามเข็มนาฬิกาไป แต่ละแฉกดาวจะประกอบด้วยชุดคำถามเพื่อปรับแผนปฏิบัติการของเรา
1. เป้าหมายและยุทธศาสตร์
- ปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานรณรงค์ต่อเนื่องที่ตั้งเป้าหมาย SMART หรือไม่?
- การตั้งเป้าหมาย SMART ประกอบด้วย
- S-specific: เฉพาะเจาะจง เป็นรูปธรรม
- M-measurable: วัดผลได้
- A-achievement: เป็นไปได้ สมเหตุสมผล
- R-responsibility: มีผู้รับผิดชอบปฏิบัติการนั้นๆ และ
- T-time: มีกรอบระยะเวลา
- วิธีคิดในการตั้งเป้าหมาย SMART
- เราอยากเปลี่ยนพฤติกรรมอะไรของกลุ่มเป้าหมาย
- ตั้งเป้าหมายเชิงบวก บอกถึงสภาวะที่เราต้องการให้เกิดขึ้น และ
- ตั้งเป้าหมายเชิงรุก ไม่ตั้งรับประเด็นปัญหาเพียงอย่างเดียว
- การตั้งเป้าหมาย SMART ประกอบด้วย
- ปฏิบัติการนี้จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร?
- เป้าหมายที่เราต้องการบรรลุคืออะไร?
- กลยุทธ์นี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของเราหรือไม่?
- อะไรควรทำก่อนและอะไรควรทำทีหลัง?
- กลยุทธ์นี้ปรับใช้บทเรียนต่างๆ ที่เราได้เรียนรู้จากปฏิบัติการก่อนหน้าหรือไม่?
2. กลุ่มเป้าหมาย
- ใครคือกลุ่มเป้าหมาย?
- กลุ่มเป้าหมายนี้จะส่งผลอะไรต่อเป้าหมาย?
- กลยุทธ์นี้ส่งผลสะเทือนต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างไร?
- กลุ่มเป้าหมายจะมีปฏิกิริยาอย่างไร?
- เรารับมือกับปฏิกิริยาของกลุ่มเป้าหมายได้หรือไม่?
3. สถานที่ปฏิบัติการ
- กลยุทธ์นี้จะทำที่ไหน?
- เป็นทำเลที่ตีแผ่ปัญหาและดึงกลุ่มเป้าหมายมาได้หรือไม่?
- เป็นแหล่งช็อปปิ้ง สถานที่เชิงสัญลักษณ์ หรือที่ที่ใช้ประชุมตัดสินใจเรื่องต่างๆ หรือไม่
4. สาร
- กลยุทธ์นี้จะสื่อสารไปถึงผู้ชม กลุ่มเป้าหมายหรือพันธมิตรว่าอะไร?
- เข้าใจง่ายและจูงใจหรือไม่?
5. จังหวะก้าว
- เราจะปฏิบัติการเมื่อไร ทำไม?
- เป็นช่วงเวลาที่เรามีศักยภาพพอหรือช่วงที่คู่กรณีเผยจุดอ่อน?
- เราจะใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหรือต่อยอดได้หรือไม่?
6. ทรัพยากร
- ปฏิบัติการนี้ใช้เวลา พลังงาน และต้นทุนของกลุ่มเรามากแค่ไหน?
- เรามีศักยภาพจะทำให้มันเกิดขึ้นได้หรือไม่?
- เราจะเพิ่มหรือลดขนาดมันลงดี?
7. ความสัมพันธ์
- ปฏิบัติการจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ของเรากับผู้มีส่วนได้เสียหลักอย่างไร?
- พวกเขามีแนวโน้มจะเข้าใจมุมมองของเรามากขึ้นหรือยิ่งถอยห่าง?
- เราจะสร้างความสัมพันธ์ใหม่ได้หรือไม่?
- เราจะสื่อสาร หารือ ขอความเห็น หรือร่วมมือกับใคร?
8. น้ำเสียงของปฏิบัติการ
- น้ำเสียงของปฏิบัติการอารมณ์ไหน เคร่งขรึม สนุก โกรธ สงบ?
- คนที่เราต้องการดึงมามีส่วนร่วม (ผู้เข้าร่วม คนเดินผ่านไปมา) จะมีปฏิกิริยาต่อน้ำเสียงนี้อย่างไร
9. การจัดตั้ง
- ปฏิบัติการนี้จะส่งผลอย่างไรต่อกลุ่มเรา?
- กลยุทธ์นี้จะส่งผลต่อการรับคน การรักษาฐานสมาชิก และการได้ทักษะใหม่ๆ อย่างไร?
- กลยุทธ์นี้จะสร้างความเชื่อมั่นหรือก่อเกิดความตึงเครียดรุนแรงจนหมดไฟหรือไม่
10. รวมกลุ่มกันใหม่
- เราวางแผนจะเฉลิมฉลองหลังปฏิบัติการเสร็จสิ้นอย่างไร?
- เราวางแผนถอดบทเรียนปฏิบัติการอะไรบ้าง?
- เราทำอะไรสำเร็จบ้าง?
- เราต้องการวัดผลอะไร?
เราสามารถประยุกต์ดวงดาวกลยุทธ์โดยเริ่มคิดจากแฉก 5 แล้วย้อนไป 4 3 2 1 ก็ได้
ดวงดาวกลยุทธ์เป็นเพียงเครื่องมือช่วยให้เราคิดครบขึ้นเท่านั้น สิ่งสำคัญคือออกไปปฏิบัติการแล้วกลับมาถอดบทเรียนเพื่อต่อยอดปฏิบัติการนั้นไปเรื่อยๆ เมื่อนั้นสังคมที่พึงปรารถนาย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม
(ที่มา: ปรับปรุงจาก https://www.nonviolence.wri-irg.org/en/node/40522)