4 บทบาทนักกิจกรรม
CITIZEN
พลเมือง
1

คนที่เห็นความเดือดร้อนของคนอื่นและพยายามเข้าไปช่วยเหลือด้วยทรัพยากรที่ตนมี เช่น ลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัย แบ่งปันอาหารน้ำดื่ม เปิดบ้านให้อยู่ ช่วยบำบัดเยียวยา เลี้ยงอาหารคนยากไร้ เป็นต้น

2
REFORMER
นักปฏิรูป

คนที่เห็นความจำเป็นของระบบและทำงานในระบบทั้งที่รู้ว่าระบบไม่ยุติธรรม เพราะเชื่อว่าตนจะช่วยปรับทิศทางของระบบนั้นได้ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย ใช้ความรู้เรื่องระบบของตนให้เป็นประโยชน์

REBEL
ขบถ
4

คนที่ใช้ปฏิบัติการทางตรงเพื่อป่าวประกาศความจริงอย่างมีพลังและความเชื่อมั่น เช่น ผู้ประท้วง เดินขบวน ดื้อแพ่ง ปฏิบัติการท้าทายซึ่งหน้า ฯลฯ

3
organizer
นักจัดตั้ง

คนที่ทำงานจัดตั้งและรวมกลุ่มคนเพื่อเพิ่มอำนาจในการเปลี่ยนแปลงระบบที่ทำร้ายกดขี่ผู้คน รวมกลุ่มคนเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบที่ไม่ยุติธรรมนั้น

1. Citizen
จุดแข็ง
  1. เก่งในการเชื่อมคนเข้าด้วยกัน และพยายามช่วยเหลือทุกคนเท่าที่จะทำได้ คนกลุ่มนี้สำคัญมากในการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ทุกข์ยาก
  2. ส่งเสริมคุณค่าด้านบวก เช่น ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรม
  3. มีเกราะป้องกันการโจมตีจากพวกสุดโต่ง
จุดอ่อน
  1. ไร้เดียงสา (Naive) ไม่รู้ว่าผู้กุมอำนาจและสถาบันทั้งหลายกระทำการเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นนำ
  2. รักชาติยิ่งชีพ (Super-patriot) เชื่อฟังผู้มีอำนาจ เชื่อฟังรัฐ เชื่อในคุณค่าความดีงาม
  3. บางครั้งไม่ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงระบบหรือโครงสร้าง ทำงานแบบแยกส่วน อาจดีต่อปัจเจกแต่ไม่ได้แก้ระบบที่กดขี่อยู่ จมกับหน้างานตัวเอง บางครั้งการมุ่งลงไปช่วยเหลือทำให้เกิดวัฏจักรของการพึ่งพา
CITIZEN
พลเมือง หรือ ผู้ช่วยเหลือ (helper)

คนที่เห็นความเดือดร้อนของคนอื่นและพยายามเข้าไปช่วยเหลือด้วยทรัพยากรที่ตนมี เช่น ลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัย แบ่งปันอาหารน้ำดื่ม เปิดบ้านให้อยู่ ช่วยบำบัดเยียวยา เลี้ยงอาหารคนยากไร้ เป็นต้น

1
2. REFORMER
จุดแข็ง
  1. มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายหรือเชี่ยวชาญในงานบริการสังคม อยู่ในสถานะที่จะเปลี่ยนระบบหรือจินตนาการทางเลือกออกจากระบบที่เป็นอยู่
  2. มีความสามารถในการใช้ช่องทางทางการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ล็อบบี้ ดำเนินการทางกฎหมาย เป็นต้น
จุดอ่อน
  1. ด้วยความคุ้นเคยว่าระบบทำงานอย่างไรจึงมักแนะนำให้คนอื่นยอมรับระบบอย่างที่มันเป็นและปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก แทนที่จะใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของตนมาสร้างสรรค์การต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะยาวมากกว่า
  2. พยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้คนมีวิสัยทัศน์ไกลๆ ไม่สนับสนุนการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
  3. ยึดโยงกับผู้มีอำนาจมากกว่าประชาชน เปลี่ยนจุดยืนกลายเป็นตัวแทนรัฐมาเจรจากับพี่น้อง หรือกลายเป็นตราประทับให้ฝ่ายผู้มีอำนาจ
  4. ถูกจำกัดด้วยโครงสร้างแบบมีลำดับชั้นและปิตาธิปไตย
2
REFORMER
นักปฏิรูป หรือผู้สนับสนุนนโยบาย (advocacy)

คนที่เห็นความจำเป็นของระบบและทำงานในระบบทั้งที่รู้ว่าระบบไม่ยุติธรรม เพราะเชื่อว่าตนจะช่วยปรับทิศทางของระบบนั้นได้ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย ใช้ความรู้เรื่องระบบของตนให้เป็นประโยชน์

3. Organizer
3
organizer
CHANGE AGENT นักจัดตั้ง (organizer)

คนที่ทำงานจัดตั้งและรวมกลุ่มคนเพื่อเพิ่มอำนาจในการเปลี่ยนแปลงระบบที่ทำร้ายกดขี่ผู้คน รวมกลุ่มคนเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบที่ไม่ยุติธรรมนั้น

จุดแข็ง
  1. เห็นภาพรวม รากเหง้าของปัญหา มีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในความสามารถที่จะรวมคนและเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้บอกเล่าเรื่องราวของตนเอง
  2. เพิ่มอำนาจประชาชน จัดการศึกษา ทำงานจัดตั้งมวลชนรากหญ้า
  3. ใช้ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีเพื่อเคลื่อนไหวระยะยาว สนับสนุนทางเลือกและการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
จุดอ่อน
  1. มักวิพากษ์วิจารณ์พลเมืองและนักปฏิรูปที่เข้าไปช่วยระบบที่มีปัญหามากกว่าจะเปลี่ยนมัน บางครั้งก็ออกมานำเองแทนที่จะเสริมพลังอำนาจให้คนที่ได้รับผลกระทบออกมานำด้วยตัวเอง
  2. ยึดคัมภีร์ (Dogmatic) เชื่อว่ามีวิธีการเดียวที่จะไปถึง
  3. ชอบวางแผนจนไม่ทันการณ์
  4. อุดมคติแบบเพ้อฝัน (Utopian) มีภาพฝันสมบูรณ์แบบแต่ไม่เชื่อมโยงกับความต้องการของขบวน
  5. ปลีกตัวไปใช้ชีวิตทางเลือกอย่างสันโดษ ตั้งตนเป็นศาสดา พูดแทนเจ้าของปัญหา
4. REBEL
REBEL
ขบถ

คนที่ใช้ปฏิบัติการทางตรงเพื่อป่าวประกาศความจริงอย่างมีพลังและความเชื่อมั่น เช่น ผู้ประท้วง เดินขบวน ดื้อแพ่ง ปฏิบัติการท้าทายซึ่งหน้า ฯลฯ

4
จุดแข็ง
  1. ทำให้การเคลื่อนไหวมีพลังและแบกรับความเสี่ยงทั้งหลายไว้ด้วยการอุทิศตนอย่างใหญ่หลวง
  2. ชี้ให้เห็นปัญหาที่คนอื่นมองไม่เห็น ชูประเด็นปัญหาให้อยู่ในสายตาสาธารณชน
  3. ต่อต้านการละเมิดคุณค่าด้านบวก
จุดอ่อน
  1. นิยามตัวเองเป็นคนชายขอบ ยึดอัตลักษณ์ความเป็นชายขอบมากเกินไป
  2. ขาลุย ใช้กลยุทธ์โดยปราศจากยุทธศาสตร์ที่เป็นจริง บางครั้งอ้างว่าจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงและทำลายทรัพย์สิน
  3. มองว่าตัวเองถูกเสมอ และมองว่าคนอื่นไม่ก้าวหน้าพอหรือมีศีลธรรมน้อยกว่า บางทีก็กีดกันความคิดคนอื่นแทนที่จะส่งเสริม
  4. การกระทำขับดันมาจากอารมณ์ด้านลบ ความโกรธ สิ้นหวังและความรู้สึกไร้อำนาจ
  5. ปฏิเสธการจัดตั้ง ต่อต้านกฎระเบียบ
Exit full screenEnter Full screen

สี่บทบาทในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
โดย บิลล์ โมเยอร์ส
(https://commonslibrary.org/the-four-roles-of-social…/

จุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละบทบาท

CITIZEN
พลเมือง หรือ ผู้ช่วยเหลือ (helper)

คนที่เห็นความเดือดร้อนของคนอื่นและพยายามเข้าไปช่วยเหลือด้วยทรัพยากรที่ตนมี เช่น ลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัย แบ่งปันอาหารน้ำดื่ม เปิดบ้านให้อยู่ ช่วยบำบัดเยียวยา เลี้ยงอาหารคนยากไร้ เป็นต้น 

จุดแข็ง

  • เก่งในการเชื่อมคนเข้าด้วยกัน และพยายามช่วยเหลือทุกคนเท่าที่จะทำได้ คนกลุ่มนี้สำคัญมากในการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ทุกข์ยาก
  • ส่งเสริมคุณค่าด้านบวก เช่น ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรม
  • มีเกราะป้องกันการโจมตีจากพวกสุดโต่ง

จุดอ่อน

  • ไร้เดียงสา (Naive) ไม่รู้ว่าผู้กุมอำนาจและสถาบันทั้งหลายกระทำการเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นนำ
  • รักชาติยิ่งชีพ (Super-patriot) เชื่อฟังผู้มีอำนาจ เชื่อฟังรัฐ เชื่อในคุณค่าความดีงาม
  • บางครั้งไม่ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงระบบหรือโครงสร้าง ทำงานแบบแยกส่วน อาจดีต่อปัจเจกแต่ไม่ได้แก้ระบบที่กดขี่อยู่ จมกับหน้างานตัวเอง บางครั้งการมุ่งลงไปช่วยเหลือทำให้เกิดวัฏจักรของการพึ่งพา

REFORMER
นักปฏิรูป หรือผู้สนับสนุนนโยบาย (advocacy)

คนที่เห็นความจำเป็นของระบบและทำงานในระบบทั้งที่รู้ว่าระบบไม่ยุติธรรม เพราะเชื่อว่าตนจะช่วยปรับทิศทางของระบบนั้นได้ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย ใช้ความรู้เรื่องระบบของตนให้เป็นประโยชน์

จุดแข็ง

  • มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายหรือเชี่ยวชาญในงานบริการสังคม อยู่ในสถานะที่จะเปลี่ยนระบบหรือจินตนาการทางเลือกออกจากระบบที่เป็นอยู่
  • มีความสามารถในการใช้ช่องทางทางการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ล็อบบี้ ดำเนินการทางกฎหมาย เป็นต้น

จุดอ่อน

  • ด้วยความคุ้นเคยว่าระบบทำงานอย่างไรจึงมักแนะนำให้คนอื่นยอมรับระบบอย่างที่มันเป็นและปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก แทนที่จะใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของตนมาสร้างสรรค์การต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะยาวมากกว่า
  • พยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้คนมีวิสัยทัศน์ไกลๆ ไม่สนับสนุนการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
  • ยึดโยงกับผู้มีอำนาจมากกว่าประชาชน เปลี่ยนจุดยืนกลายเป็นตัวแทนรัฐมาเจรจากับพี่น้อง หรือกลายเป็นตราประทับให้ฝ่ายผู้มีอำนาจ
  • ถูกจำกัดด้วยโครงสร้างแบบมีลำดับชั้นและปิตาธิปไตย

CHANGE AGENT
นักจัดตั้ง (Organizer) 

คนที่ทำงานจัดตั้งและรวมกลุ่มคนเพื่อเพิ่มอำนาจในการเปลี่ยนแปลงระบบที่ทำร้ายกดขี่ผู้คน รวมกลุ่มคนเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบที่ไม่ยุติธรรมนั้น

จุดแข็ง

  • เห็นภาพรวม รากเหง้าของปัญหา มีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในความสามารถที่จะรวมคนและเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้บอกเล่าเรื่องราวของตนเอง
  • เพิ่มอำนาจประชาชน จัดการศึกษา ทำงานจัดตั้งมวลชนรากหญ้า
  • ใช้ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีเพื่อเคลื่อนไหวระยะยาว สนับสนุนทางเลือกและการเปลี่ยนกระบวนทัศน์

จุดอ่อน

  • มักวิพากษ์วิจารณ์พลเมืองและนักปฏิรูปที่เข้าไปช่วยระบบที่มีปัญหามากกว่าจะเปลี่ยนมัน บางครั้งก็ออกมานำเองแทนที่จะเสริมพลังอำนาจให้คนที่ได้รับผลกระทบออกมานำด้วยตัวเอง
  • ยึดคัมภีร์ (Dogmatic) เชื่อว่ามีวิธีการเดียวที่จะไปถึง 
  • ชอบวางแผนจนไม่ทันการณ์
  • อุดมคติแบบเพ้อฝัน (Utopian) มีภาพฝันสมบูรณ์แบบแต่ไม่เชื่อมโยงกับความต้องการของขบวน
  • ปลีกตัวไปใช้ชีวิตทางเลือกอย่างสันโดษ ตั้งตนเป็นศาสดา พูดแทนเจ้าของปัญหา

REBEL
ขบถ 

คนที่ใช้ปฏิบัติการทางตรงเพื่อป่าวประกาศความจริงอย่างมีพลังและความเชื่อมั่น เช่น ผู้ประท้วง เดินขบวน ดื้อแพ่ง ปฏิบัติการท้าทายซึ่งหน้า ฯลฯ

จุดแข็ง

  • ทำให้การเคลื่อนไหวมีพลังและแบกรับความเสี่ยงทั้งหลายไว้ด้วยการอุทิศตนอย่างใหญ่หลวง 
  • ชี้ให้เห็นปัญหาที่คนอื่นมองไม่เห็น ชูประเด็นปัญหาให้อยู่ในสายตาสาธารณชน
  • ต่อต้านการละเมิดคุณค่าด้านบวก

จุดอ่อน

  • นิยามตัวเองเป็นคนชายขอบ ยึดอัตลักษณ์ความเป็นชายขอบมากเกินไป 
  • ขาลุย ใช้กลยุทธ์โดยปราศจากยุทธศาสตร์ที่เป็นจริง บางครั้งอ้างว่าจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงและทำลายทรัพย์สิน 
  • มองว่าตัวเองถูกเสมอ และมองว่าคนอื่นไม่ก้าวหน้าพอหรือมีศีลธรรมน้อยกว่า บางทีก็กีดกันความคิดคนอื่นแทนที่จะส่งเสริม
  • การกระทำขับดันมาจากอารมณ์ด้านลบ ความโกรธ สิ้นหวังและความรู้สึกไร้อำนาจ
  • ปฏิเสธการจัดตั้ง ต่อต้านกฎระเบียบ

ทั้ง 4 บทบาทต่างมีพลังขับเคลื่อนขบวนการเคลื่อนไหวในแต่ละจังหวะก้าว จาก 8 ขั้นตอนของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (MAP) จะพบบทบาทที่โดดเด่นในแต่ละขั้น

ในสภาวะปกติ (ขั้น 1) พลเมืองและนักจัดตั้งจะมีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหา 

เมื่อผู้คนเริ่มเห็นถึงความล้มเหลวของระบบที่เป็นอยู่ (ขั้น 2) นักปฏิรูปและพลเมืองจะมีบทบาทในการเปิดแผลของระบบ ไม่ว่าจะทำวิจัย ฟ้องร้อง ยื่นหนังสือ ตั้งกระทู้ยื่นญัตติ เผยแพร่ความล้มเหลวของสถาบันทางการ

จนเมื่อสถานการณ์เริ่มสุกงอม คนจำนวนมากเข้าร่วมเคลื่อนไหว (ขั้น 3) พลเมือง นักปฏิรูป และขบถจะมีบทบาทโดดเด่นในการปฏิบัติการเคลื่อนไหว จัดการศึกษา เชื่อมร้อยเครือข่าย ทำให้ผู้คนเห็นเหยื่อของระบบมากขึ้น

พอถึงจุดแตกหักที่ประชาชนไม่พอใจระบบโครงสร้างที่เป็นอยู่ การเคลื่อนไหวก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว คนจำนวนมากเข้าร่วมขบวน บรรดาผู้มีอำนาจพยายามดิสเครดิตขบวนการ (ขั้น 4) บทบาทของขบถจะโดดเด่นในขั้นนี้ ในการจัดชุมนุมประท้วง เดินขบวน ดื้อแพ่ง ปฏิบัติการท้าทายซึ่งหน้า ประสานขบวนการระดับรากหญ้า เชื่อมโยงข้อเรียกร้องของขบวนเข้ากับคุณค่าที่สังคมยอมรับ 

ในขั้นนี้มักคาดกันว่าขบวนการจะประสบความสำเร็จแต่พอไม่ได้เป็นเช่นนั้น คนเข้าร่วมน้อยลง หลายคนคิดว่าล้มเหลว สิ้นหวัง (ขั้น 5) พลเมืองกับขบถจะมีบทบาทในการจินตภาพการเคลื่อนไหวที่ประสบความสำเร็จขึ้นมาใหม่และซอยเป้าหมายให้เล็กลง

พอการประท้วงขยับไปสู่การต่อสู้ระยะยาวที่มุ่งเอาชนะใจคนส่วนใหญ่ (ขั้น 6) บทบาทนักจัดตั้งจะเด่นชัดในช่วงนี้ในการแสวงหาแนวร่วมอย่างกว้างขวาง รักษาประเด็นและข้อเสนอให้อยู่ในวาระสังคม

เมื่อการเคลื่อนไหวยกระดับไปสู่การแสวงหาทางเลือกต่างๆ (ขั้น 7) นักจัดตั้งและนักปฏิรูปจะมีบทบาทในการทำงานเปลี่ยนกระบวนทัศน์และสร้างทางเลือก จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (ขั้น 8) บทบาทนักปฏิรูปจะโดดเด่นในการติดตามขยายผลและหนุนเสริมประเด็นอื่นๆ

(อ่านเพิ่มเติม 8 ขั้นตอนของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่นี่)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • ยอมให้เก็บข้อมูลสถิติ

    เราเก็บข้อมูลสถิติซึ่งประกอบด้วย IP Address และอื่นๆ ตามที่ Google analytic เรียกดู

บันทึกการตั้งค่า