คู่มือถ่ายภาพการสลายการชุมนุม

เรียบเรียงโดย ไลลา ตาเฮ


เราทุกคนคือสื่อ ประชาชนทุกคนมีสิทธิถ่ายภาพการสลายการชุมนุม
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ


เป้าหมาย

เพิ่มพื้นที่ข่าวการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐทางโซเชียลมีเดีย สื่อสารสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการสลายการชุมนุมผ่านการเป็นสื่อพลเมือง โดยที่ภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอเหล่านี้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องการกระทำเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่รัฐได้ในอนาคต

แนวคิด

เราทุกคนคือสื่อ ประชาชนทั่วไปย่อมมีสิทธิในการบันทึกประวัติศาสตร์ผ่านภาพถ่ายรวมไปถึงบันทึกภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสลายการชุมนุมเช่นเดียวกับสื่อทางการที่ได้รับปลอกแขนจากหน่วยงานของรัฐ เพราะในยุคที่ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือคำว่า “สื่อ” กินความกว้างกว่าสื่อโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์อย่างที่องค์กรสื่อและรัฐนิยาม

แนวทางเบื้องต้นสำหรับสื่ออิสระและประชาชนทั่วไป
ในการถ่ายภาพสลายการชุมนุม

สำหรับคนที่มีความถนัดเชี่ยวชาญในทักษะการถ่ายภาพ การเข้าไปในพื้นที่ที่มีการชุมนุมประท้วงเราอาจทำหน้าที่ “สื่ออิสระ” “สื่อพลเมือง” หรือเข้าไปในฐานะผู้เข้าร่วมชุมนุมที่มองผ่านเลนส์กล้อง ตระหนักว่าบทบาทหน้าที่หลักของเราคือการบันทึกภาพการชุมนุมเพื่อส่งสารออกไปให้ได้มากที่สุดโดยเฉพาะบนพื้นที่โซเชียลมีเดีย บ่อยครั้งที่ภาพถ่ายและคลิปของสื่ออิสระและประชาชนทั่วไปเผยให้เห็นแง่มุมที่สื่อกระแสหลักเลือกจะปิดบังบิดเบือนหรือมองไม่เห็นโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐสลายการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ

เมื่อตระหนักถึงบทบาทหน้าที่นี้แล้วเราจำเป็นต้องมีทักษะเบื้องต้นในการสังเกตการณ์และอ่านสถานการณ์ทั้งฝั่งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นในการชุมนุมแต่ละครั้ง ดังนี้

การเตรียมตัว

ก่อนจะไปถึงพื้นที่ชุมนุม

  1. ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ทราบ Movement ของการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
  2. หาข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมในแต่ละครั้งให้ได้มากที่สุดเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงที่จะมีการสลายการชุมนุม  โดยข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องทำการบ้านไปก่อน มีดังนี้
    1. ต้องรู้ว่าการชุมนุมในครั้งนั้นมีข้อเรียกร้องอะไร
    2. ใครเป็นแกนนำ กลุ่มหลักหรือภาคีร่วมในการจัดการชุมนุม
    3. กิจกรรมที่ทางทีมงานผู้จัดได้เตรียมไว้มีอะไรบ้าง
    4. สถานที่และวันเวลาในการจัดการชุมนุม
    5. การเตรียมรับมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งสามารถติดตามการถ่ายทอดสดในการแถลงข่าวแต่ละครั้งได้ที่ https://web.facebook.com/policetv.tv 
  3. ศึกษาเส้นทางโดยรอบพื้นที่การชุมนุมอย่างละเอียดจาก Google Map
  4. ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์และจัดเตรียมอุปกรณ์ลงประเป๋าให้เรียบร้อย
    1. ชาร์จแบตเตอรี่กล้องทุกก้อนที่มีให้เต็ม
    2. ฟอร์แมตเมมโมรี่กล้องทุกตัวที่จะนำไปใช้แต่ในแต่ละครั้ง
    3. ตรวจสอบการทำงานของกล้องถ่ายภาพเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีความผิดปกติ
    4. กรอกน้ำให้เต็มความจุของเป้น้ำ หากไม่มีเป้น้ำควรเตรียมน้ำดื่มติดกระเป๋าไว้อย่างน้อย 1 ขวด
  5. ไม่ควรรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดอาการจุกและอาเจียนได้เมื่อสูดดมแก็สน้ำตา
  6. ชาร์จแบตเตอรี่สำรองให้เต็ม
  7. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (โทร. 092-2713172 หรือ 096-7893173) ไว้ในโทรศัพท์มือถือ
  8. ควรลงชื่อขอปลอกแขนจากทางสมาพันธ์สื่อไทยเพื่อประชาธิปไตย (DemAll) ที่นี่

https://www.facebook.com/DemAllDemocracyAlliance/posts/166199255583623 เพื่อลดการโต้เถียงกับตำรวจในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินหน้าจับกุมผู้ชุมนุมและอาจเข้าใจผิดได้ว่าเราเป็นผู้ชุมนุมในอีกทางหนึ่งก็เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเราเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบด้วยเช่นกัน

หลังจากกรอก Google Form แล้วจะมีอีเมลส่งกลับมาเพื่อให้เรากรอกข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับช่างภาพสมัครเล่นหรือช่างภาพที่ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก ไม่เคยเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อสำนักใดเลยแนะนำให้แนบ link ตัวอย่างภาพถ่ายที่เผยแพร่ในสื่อโซเชียลมีเดียของตนเอง เช่น Facebook Page, Instagram, Vimeo, Twitter หรือ Facebook Group ตามความสนใจพิเศษย่อยของเราก็ได้ เช่น Street Photo Thailand, คนรักกล้องฟิล์ม หรือรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง เป็นต้น

  1. แต่งกายให้ทะมัดทะแมงเพื่อความคล่องแคล่วและสะดวกกับการถ่ายภาพ
    1. เสื้อผ้าพอดีตัว ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป ไม่ควรใส่ชุดสีดำ (All Black) เพราะจะทำให้กลมกลืนกับผู้ชุมนุมจนเกินไป
    2. รองเท้า แนะนำเป็นรองเท้าหุ้มข้อแบบเดียวกับที่กองทัพใช้หรือรองเท้าปีนเขา เหตุผลที่ต้องเป็นแบบหุ้มข้อเพราะเวลาขาพลิกจะไม่มีปัญหาข้อเท้าอักเสบ หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นรองเท้าผ้าใบที่ออกแบบมาสำหรับการวิ่งโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น

เมื่อไปถึงพื้นที่ชุมนุมแล้ว

  1. เดินสำรวจพื้นที่การชุมนุมโดยรอบเพื่อศึกษาเส้นทางหากมีการสลายการชุมนุม ทั้งนี้ควรไปถึงพื้นที่ชุมนุมก่อนเวลานัดหมายอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  2. สังเกตหาจุดที่คาดว่าอาจจะมีการสลายการชุมนุมซึ่งก็คือจุดที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.) พร้อมโล่ กระบองและอาวุธพิเศษตั้งกำลังรอพร้อมด้วยรถฉีดน้ำจีโน่ หากพบว่าจุดนั้นอยู่ไม่ไกลจากจุดที่มีการนัดหมายการชุมนุมมากนักควรเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน (หน้ากากกันแก็ส, แว่นตากันแก็ส, หมวกฟาส) ให้พร้อมสวมใส่ที่สุดหรือหากใส่ได้ก่อนก็ควรใส่เลย
  3. เช็กข่าวความเคลื่อนไหวของทีมงานผู้จัดม็อบจาก Official Fanpage เพื่ออัปเดตและคอนเฟิร์มเวลาสถานที่ของการนัดชุมนุม
  4. หากบริเวณใกล้เคียงการชุมนุมมีการตั้งแนวของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน (คฝ.) พร้อมโล่ห์ กระบองและรถฉีดน้ำแรงดันสูง (จีโน่) พร้อมทั้งผู้ชุมนุมมีท่าทีพร้อมปะทะ อย่างน้อยเราก็ควรใส่หมวกฟาสก่อนเพื่อความปลอดภัย และเมื่อผู้ชุมนุมเริ่มมีการรื้อลวดหนาม ลากตู้คอนเทนเนอร์ หรือปาประทัด เมื่อนั้นเราจึงใส่หน้ากากและแว่นกันแก็สเสริมเข้าไปได้

อุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพ

1. กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 

สำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็วไม่อยากเสียเวลาเปลี่ยนเลนส์แนะนำให้พกกล้องสองตัว คือตัวแรกใส่เลนส์ 70-200 มม. เพื่อถ่ายภาพจากระยะไกล ส่วนกล้องตัวที่สองนั้นใส่เลนส์ระยะปกติคือ เลนส์ 24-120 มม. หรือ 24-70 มม. เพื่อถ่ายภาพมุมกว้างเห็นบรรยากาศโดยรวมรอบตัว แต่สำหรับคนที่รู้แล้วว่าจะเล่าอะไรในภาพ มีภาพที่ต้องการอยู่ในหัวแล้ว หรือรู้ข้อจำกัดว่าแบกกล้องได้แค่หนึ่งตัวเท่านั้นก็แนะนำให้ใช้กล้องแค่ตัวเดียว ทั้งนี้ก็เพื่อความคล่องแคล่วในการวิ่งหนีหลบหลีกในสถานการณ์ชุลมุน เราต้องไม่ลืมว่าช่างภาพไม่ได้มีแค่เลนส์กับกล้องเท่านั้นที่ต้องแบกแต่ยังมีหมวกฟาส หน้ากากกันแก็ส แว่นกันแก็สรวมไปถึงอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัยอื่นๆ อีก  

ในการถ่ายภาพการสลายการชุมนุมนั้นมักจะมีบ่อยครั้งที่เราไม่สามารถเข้าไปอยู่กลางแนวปะทะ

ระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้และเลนส์ 70-200 มม. ที่มีก็อาจจะไม่สามารถซูมได้ไกลเท่าที่เราต้องการได้จึงทำให้ต้องมาครอปภาพในภายหลัง ดังนั้นเพื่อให้ได้ไฟล์คุณภาพเราจึงต้องเลือกใช้กล้องที่มีความละเอียดสูง  

ตัวอย่างกล้องที่แนะนำคือ กล้อง Canon R5  ที่มี Sensor ขนาด Fullframe ความละเอียด 45 ล้านพิกเซล

กล้อง Canon R5

2. เลนส์

เลนส์ 70-200 มม. เหมาะสำหรับถ่ายภาพเหตุการณ์ที่มีความอันตราย ไม่สามารถเข้าไปในระยะใกล้ได้ เช่น ถ่ายภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.) ยิงกระสุนยาง ขว้างแก็สน้ำตา ฉีดน้ำมาทางผู้ชุมนุม และถ่ายภาพผู้ชุมนุมขว้างปาระเบิดขวด ประทัดยักษ์ ประทัดลูกบอลไปทางเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน (คฝ.)

ตัวอย่างกล้องที่ใส่เลนส์ 70-200 มม.
เลนส์ EF70-200mm f/2.8L USM  สำหรับกล้อง Canon
เลนส์ AF-S NIKKOR 70-200MM F/2.8E FL ED VR สำหรับกล้อง Nikon
เลนส์ AF-S NIKKOR 24-120MM F/4G ED VR
เลนส์ Canon EF 24-70mm f/2.8L II USM

เลนส์ 24-120 มม. และ เลนส์ 24-70 มม. เหมาะสำหรับถ่ายภาพผู้ชุมนุมกำลังทำกิจกรรม เช่น กำลังตั้งรั้วตั้งโล่ห์ รื้อลวดหนาม ล้างตา หรือลากตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น

อุปกรณ์เสริมเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน

1. หมวกฟาส

สวมเพื่อป้องกันศีรษะจากวัตถุที่อาจจะลอยมากระแทกได้ สำหรับหมวกฟาสที่แนะนำเป็นของแบรนด์ EMERSON รุ่น EmersonGear EXF BUMP-BK ที่มาพร้อมกับกระจกกันสะเก็ดในตัว แต่หมวกฟาสรุ่นนี้รวมถึงรุ่นอื่นๆ ที่อยู่ในราคาใกล้เคียงกันนี้อาจจะกันกระสุนจริงไม่ได้เนื่องจากวัสดุเป็นพลาสติก

ควรซื้อป้ายผ้าปัก PRESS แบบตีนตุ๊กแกด้วยเพื่อนำมาติดกับหมวกฟาส

2. แว่นตากันแก๊ส (Safety goggles)

แนะนำเป็นของ ESS เพราะสามารถกันสะเก็ดระเบิดได้

อีกหนึ่งคำแนะนำสำหรับการใช้แว่นตากันแก็สคือควรนำเทปผ้าหรือเทปพันสายไฟมาปิดช่องว่างที่อยู่รอบแว่นเพื่อป้องกันไม่ให้ละอองแก๊สน้ำตาเข้า

สำหรับคนที่ใส่แว่นสายตา หากใส่แว่นตากันแก๊สทับแว่นสายตาอาจจะทำให้เกิดช่องว่างและแก๊สเข้าตาได้ ควรซื้ออะแดปเตอร์ (Adapter) สำหรับใส่เลนส์สายตาไว้ด้วย

ตัวอย่างการนำไปใช้งานจริง

3. แผ่นเช็ดแว่น 

ควรเช็ดแว่นด้วยแผ่นเช็ดแว่นทุกครั้งก่อนใส่เพื่อลดโอกาสที่ฝ้าเกาะแว่นทำให้ไม่ต้องถอดแว่นออกมาเช็ดฝ้าบ่อยๆ เวลาถ่ายภาพ

4. หน้ากากกันแก๊ส

หากต้องการความสะดวกใส่ครั้งเดียวจบก็แนะนำเป็นหน้ากากแบบ 6800 (Full Mask) ที่ไม่จำเป็นต้องใส่แว่นกันแก๊สแยกอีกชิ้น แต่หน้ากากกันแก็สแบบนี้มีข้อเสียคือไม่เหมาะสำหรับคนใส่แว่นสายตาและความโค้งของหน้ากากจะทำให้เล็งช่องมองภาพ (Viewfinder) ยาก

สำหรับคนที่ใส่แว่นสายตาแนะนำให้เลือกหน้ากากแบบครึ่งหน้าเพราะสามารถใส่ครอบแว่นตา

หรือใส่อะแดปเตอร์เลนส์สายตาได้  แต่ข้อเสียคือแก๊สน้ำตาสัมผัสผิวหนังบริเวณใบหน้าอย่างแน่นอน 

ในส่วนของหน้ากากกันแก๊สน้ำตาจะแยกเป็น 2 ส่วน คือ 

1. หน้ากาก (ของยี่ห้อ 3M จะเป็นซีรี่ส์ 6 และ 7 โดยขนาดเล็กหรือขนาดสำหรับผู้หญิงจะเป็นรุ่น 6100, ขนาดกลางหรือขนาดสำหรับผู้ชายจะเป็นรุ่น 6200, ซีรี่ส์ 7 หรือรุ่นที่ขึ้นหน้าด้วยเลข 7 จะเป็นรุ่นที่ราคาแพงกว่าเพราะซิลิโคนจะนุ่มกว่า) 

2. ตลับกรอง แนะนำให้ซื้อของ 3M รุ่น 6006 , 60921 , 60923 หรือ 60926 

5. ปลั๊กอุดหูลดเสียง (Earplugs)

จากสถิติการสลายการชุมนุมตลอดเดือนสิงหาคม 2564 พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เครื่องขยายเสียงระยะไกล (LRAD: Long Range Acoustic Device) บ่อยขึ้น อีกทั้งผู้ชุมนุมยกระดับการตอบโต้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน (คฝ.) ด้วยการใช้พลุ ดอกไม้ไฟ ประทัดยักษ์ซึ่งมีเสียงดังและตอบโต้ถี่ ดังนั้นเราจึงควรสวมที่อุดหูอยู่ตลอดที่ถ่ายภาพในพื้นที่

6. เสื้อกันฝน 

แนะนำแบบมีกระดุมข้างหน้าเพราะง่ายต่อการหยิบจับอุปกรณ์

7. ทิชชู่

ในบางครั้งเราอาจจะโดนลูกหลงจากสีหรือของเหลวที่ผู้ชุมนุมใช้สาดเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควรพกทิชชู่ทั้งแบบเปียกและแห้ง

8. หน้ากากอนามัย

ในแต่ละครั้งที่ต้องใส่หน้ากากกันแก๊สน้ำตาเราจะต้องถอดหน้ากากอนามัยทิ้งก่อนเสมอ ดังนั้นจึงต้องเตรียมหน้ากากอนามัยอันใหม่ไว้สำหรับใส่กลับบ้านหลังถ่ายภาพในม็อบเสร็จแล้ว

9. เป้น้ำ

วิธีการใช้งานคือนำเป้ใส่ในกระเป๋าสะพายด้านหลัง เวลาจะดื่มน้ำก็ดึงสายจากเป้น้ำมาดูด ทำให้ประหยัดเวลาในการหยิบและเปิดฝาขวดน้ำ

10. ชุดปฐมพยาบาลสนามส่วนบุคคลสำหรับยื้อชีวิต (Individual First Aid Kit: IFAK)

แนะนำเป็นเซ็ตห้ามเลือดเพราะการสูญเสียเลือดในปริมาณที่มากอาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้  

และเนื่องด้วยการปฐมพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญมากในสถานการณ์คับขัน ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกอบรมมาอย่างดีจึงจะสามารถใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเพจ https://web.facebook.com/sierrathailand/  และ https://web.facebook.com/tacticalMedicool  

สามารถซื้อชุด IFAK ได้ที่ร้านขายอุปกรณ์ทางยุทธวิถีสำหรับเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ (Tactical Shop) 

ตัวอย่างจริงจากช่างภาพข่าวที่ปฏิบัติงานในม็อบ

โดยในชุดจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการห้ามเลือด ดังนี้

10.1 สายรัดห้ามเลือด (Tourniquet)

ใช้ห้ามเลือดบริเวณแขนหรือขาเท่านั้น  (ศึกษาวิธีการใช้สายรัดห้ามเลือดอย่างละเอียดได้ที่ลิ้งก์นี้ https://www.youtube.com/watch?v=pm3n0eryU88)  ควรพกปากกาแบบ Permanent ไว้ด้วยเพื่อใช้เขียนเวลาที่ทำการรัดสายห้ามเลือด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://web.facebook.com/ValorManager/photos/a.1135879839844325/3771841046248178/

10.2 ผ้าพันแผล (Olaes Modular Bandage) 

คือผ้าก๊อซที่มีสารห้ามเลือด ใช้เพื่อห้ามเลือดตรงบริเวณอื่นของร่างกายนอกเหนือจากแขนกับขาที่สามารถใช้สายรัดห้ามเลือด (Tourniquet) ได้ ความพิเศษของผ้าพันแผลชนิดนี้คือมีถ้วยครอบเพื่อเพิ่มแรงกดไปที่บาดแผล, ครอบดวงตาเมื่อมีบาดแผลบริเวณดวงตาแล้วจึงใช้ผ้าพันเพื่อไม่ให้แรงที่ตกของผ้าพันแผลไปกระทบกับลูกตาโดนตรง หรือครอบเพื่อใช้ในการพันแผลที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะได้  (ศึกษาวิธีการทำแผลได้ที่ https://ergoldbook.blogspot.com/2019/01/wound-management.html)

10.3 ผ้าก๊อซปิดแผล (Petrolatum Gauze)

เป็นผ้าก๊อซปิดแผลเคลือบด้วยของเหลวที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค หากมีแผลที่เกิดจากการโดนของแข็งกระทบก็สามารถใช้ผ้าก็อซนี้เช็ดทำความสะอาดแผลได้ทันที  ส่วนถุงฟอยด์ที่ห่อมานั้นก็ยังสามารถนำไปทำเป็นวัสดุสำหรับปิดแผล (Occlusive Dressing) ได้อีกเช่นกัน  (อ้างอิงจากคลิปนี้วินาทีที่ 08.06-08.30 https://web.facebook.com/tacticalMedicool/videos/218119539886933)

10.4 เครื่องมือช่วยเปิดทางเดินหายใจ (Nasopharyngeal Airway 28F w/Lube)

ประกอบด้วยท่อและสารหล่อลื่นที่จะช่วยให้การสอดท่อง่ายขึ้นและลดการเสียดสี เครื่องมือช่วยเปิดทางเดินหายใจนี้มีไว้ใช้กับผู้ที่หมดสติหรือกึ่งหมดสติ  ไม่แนะนำให้ผู้ที่ยังไม่ผ่านการฝึกใช้ท่อนี้กับผู้ป่วย

10.5 ถุงมือยางปลอดเชื้อ (Nitrile Gloves XL) 

ผลิตจากวัสดุ Nitrile 100% โดยวัสดุตัวนี้ถูกออกแบบมาให้มีความเหนียว ยืดหยุ่นสูง และช่วยป้องกันสารเคมี เชื้อโรค เข้าสู่ร่างกายผู้ช่วยเหลือ

10.6 Surgical Tape 

เป็นเทปผ่าตัดขนาดความกว้าง 2 นิ้ว และยาว 30 ฟุต ตัวเทปตัดง่าย ไม่เหนียว

10.7 หน้ากากยุทธวิธี (TacMed™ Face Shield)

หน้ากากยุทธวิธีสำหรับวางบนใบหน้าของผู้ได้รับบาดเจ็บเพื่อป้องกันผู้ให้ความช่วยเหลือได้ปลอดภัยจากเชื้อโรค

10.8 กรรไกรทางการแพทย์ (Trauma Shears) 

สำหรับตัดเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์เพื่อทำการปฐมพยาบาลกู้ชีพ เนื่องจากกรรไกรตัวนี้มีความแข็งแรงและความคมมากพอที่จะสามารถตัดสิ่งของหลายอย่างที่มีความแข็งแรงได้ เช่น ส่วนของชิ้นส่วนเสื้อเกราะ หนังเข็มขัด รองเท้าบู๊ต และเสื้อกันหนาวที่มีความหนา ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถตัดวัสดุที่มีความนุ่มและเหนียวอย่างเช่นผ้าก๊อซหรือผ้าที่มีความเหนียว ซึ่งแตกต่างจากกรรไกรทั่วไปที่สามารถเลือกการใช้งานได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

10.9 เอกสารกำกับตัวผู้บาดเจ็บ (TacMed™ Combat Casualty Card)

สำหรับกรอกรายละเอียดการปฐมพยาบาลเบื้องต้นภาคสนามช่วยให้แพทย์พยาบาลได้เตรียมการรักษาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

11. เสื้อกั๊กสะท้อนแสงสีเขียว 

เนื่องจากเป็นข้อตกลงระหว่างสมาคมสื่อฯ กับตำรวจที่แถลงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564 ที่ให้สื่อใส่เครื่องแบบหรืออุปกรณ์ที่เป็นสีเขียวสะท้อนแสงสามารถเห็นได้ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถแยกกลุ่มสื่อออกจากกลุ่มผู้ชุมนุมได้ง่าย โดยทั้งหมดนี่เพื่อความปลอดภัยในการทำข่าวในพื้นที่การชุมนุม (สามารถอ่านข้อตกลงทั้งหมดได้ที่นี่ https://siamrath.co.th/n/274746)

ตัวอย่างเสื้อสีเขียวสะท้อนแสงที่สื่อมวลชนสวมใส่ขณะทำงาน

12. น้ำเกลือสำหรับใช้ทางการแพทย์

สำหรับล้างตาเมื่อโดนแก๊สน้ำตาและล้างแผลเมื่อโดนวัตถุของแข็งกระทบร่างกาย

13. ถุงสุญญากาศหรือถุงซิปล็อกกันน้ำ

ควรพกถุงกันน้ำไว้อย่างน้อย 1 ใบเพื่อใส่เสื้อกันฝนที่เปียกน้ำ หรือเพื่อป้องกันสิ่งของจำเป็นอื่นไม่ให้เปียกฝนหรือน้ำที่เจ้าหน้าที่ตำรวจฉีดใส่ผู้ชุมนุม แนะนำเป็นถุงสุญญากาศเพราะประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บในกระเป๋า

14. สบู่นกแก้วสีเขียว

สำหรับถูล้างตัวเมื่อโดนน้ำผสมสีเพื่อป้องกันการระบุตัวว่าเป็นผู้ชุมนุมอันจะนำไปสู่การถูกจับกุมได้

15. Patch กรุ๊ปเลือด

Patch กรุ๊ปเลือด นับได้ว่ามีความสำคัญพอๆ กันกับ Patch สื่อมวลชน (PRESS) ในสถานการณ์ที่มีการปะทะ คำว่า ‘PRESS’ หรือ ‘สื่อมวลชน’ จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้ชุมนุมทราบว่าเราไม่ใช่เป้าหมายที่จะจู่โจม แต่ถ้าหากเราโดนจู่โจมจนทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นต้องส่งไปโรงพยาบาล ‘Patch กรุ๊ปเลือด’ ก็จะช่วยย่นเวลาในการตรวจสอบกรุ๊ปเลือดของเราไปได้

กฎของการถ่ายภาพการสลายการชุมนุมสำหรับประชาชนทั่วไป

ถ่ายยังไงก็ได้โดยไม่โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมหรือควบคุมตัว เพราะถึงแม้เราจะเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมเสมือนผู้สังเกตการณ์ที่ต้องการจะถ่ายภาพเท่านั้น แต่เมื่อถึงสถานการณ์ดำเนินมาถึงช่วงชุลมุนคับขันและเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน (คฝ.) ปฏิบัติการจับกุมทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ (ยกเว้นสื่อมวลชนที่มีปลอกแขนและทีมแพทย์อาสา) เมื่อนั้นเราก็มีโอกาสจะถูกจับกุมเช่นเดียวกับผู้ชุมนุม ในที่นี้เราอาจจะโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ได้ ดังนั้นมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

ข้อควรปฏิบัติ

  1. เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจจะคิดว่าเราเป็นผู้ชุมนุม  ส่วนผู้ชุมนุมก็อาจจะคิดว่าเราเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบ ดังนั้นเราจึงต้อง Perform ตัวเองให้เป็นสื่อ ตามวิธีดังนี้
    1. แม้ว่าจะเห็นด้วยกับผู้ชุมนุมหรือโกรธเจ้าหน้าที่ตำรวจมากขนาดไหนก็ต้องควบคุมอารมณ์ตนเองหากเราแสดงออกชัดเจนให้ คฝ. เห็นว่าเราโกรธเขาจะทำให้เรากลายเป็นจุดสังเกตและอาจตกเป็นเป้าหมายได้
    2. หากจำเป็นต้องเดินฝ่าแนวจริงให้ชูกล้อง ชูมือทั้งสองข้างขึ้นเพื่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเราเป็นสื่อไม่ใช่ผู้ชุมนุม ซึ่งการชูมือกับกล้องขึ้นเหนือศีรษะก็ถือเป็นวิธีการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดีที่สุดเนื่องจากในสถานการณ์จริงนั้นต่างฝ่ายต่างอยู่ไกลเกินว่าจะตะโกนแล้วได้ยินชัดเจน ยังไม่นับเสียงรบกวนจากการเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือแกนนำที่ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงและเสียงจากประทัดยักษ์ แก๊สน้ำตา พลุ กระสุนยางที่ต่างฝ่ายต่างใช้ตอบโต้กันอีกด้วย
    3. แต่งกายพกพาอุปกรณ์เฉพาะทางสำหรับการเป็นช่างภาพเพื่อแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ
    4. เคลื่อนไหวอย่างมีเป้าหมาย ไม่ลุกลี้ลุกลน และจริงจังกับการถ่ายภาพ ณ ขณะนั้นให้เหมือนว่าเราเป็นสื่อที่ตั้งใจมาทำข่าวในม็อบ โดยหลักการเคลื่อนไหวที่ว่ามีดังนี้
  • สังเกตผู้ชุมนุมตามเกณฑ์พื้นฐาน เช่น ผู้ชุมนุมที่น่าสนใจมีเอกลักษณ์ มีสารที่จะสื่อชัดเจน, ผู้ชุมนุมที่คาดคะเนแล้วว่าไม่มีปัญหากับการถูกถ่ายภาพ (ในสถานการณ์จริงที่ชุลมุนนั้นยากที่จะเข้าไปขอ Consent ทุกภาพที่ถ่าย สิ่งที่ทำได้อาจจะเป็นการสื่อสารผ่านท่าทางด้วยการยกกล้องขึ้นเหนืออกและก้มหัว เมื่อถ่ายเสร็จจึงพูดขอบคุณและก้มหัวอีกครั้ง)
  • จับตาดูและคาดคะเนสิ่งที่ผู้ชุมนุมคนนั้นหรือกลุ่มนั้นจะทำต่อไป
  • ประเมินพื้นที่ที่ผู้ชุมนุมเป้าหมายของเรายืนอยู่ว่าปลอดภัยที่จะเข้าไปถ่ายไหม ภายใต้หลักเกณฑ์คือพื้นที่นั้นต้องมีที่กำบัง ที่กั้นหรือเสาที่เราจะสามารถวิ่งมาหลบได้หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น 

2. พยายามเกาะกลุ่มกับเพื่อนที่มาถ่ายภาพในม็อบหรือสื่อที่มีปลอกแขนเพื่อลดการถูกมองว่าเป็นผู้ชุมนุม

3. พยายามมีสติอยู่ตลอด สังเกตรอบตัวบ่อยๆ สังเกตการเคลื่อนที่ของผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนจะวิ่งหนีต้องดูก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น ผู้ชุมนุมวิ่งหนีอะไร วิ่งไปทางไหน ทำไมต้องไปทางนั้น หรือมีเสียงอะไรผิดปกติไหมจากนั้นจึงประเมินสถานการณ์ต่อไปที่อาจจะเกิดขึ้น 

ตัวอย่างเสียงของสิ่งที่แต่ละฝ่ายใช้ตอบโต้กัน

ประทัดยักษ์   เสียงดัง “ตู้ม” ทุ้มและแน่นจนคนที่ไม่รู้อาจคิดว่าเป็นเสียงระเบิด

https://twitter.com/ittipat_tv/status/1435616430486011910  นาทีที่ 00.00  /  00.07  /  00.13 – 00.22

https://twitter.com/ittipat_tv/status/1435253189117239306  นาทีที่ 00.03  /  00.12  /  00.20  /  00.24  /  00.29  /  00.40  /  00.49  

ภาพตัวอย่างประทัดยักษ์ จากคลิปของผู้ใช้ Youtube ในนาม NUENG ZEED https://www.youtube.com/watch?v=izlpTYX3Jyw

พลุและดอกไม้ไฟ

https://twitter.com/ittipat_tv/status/1435253189117239306  นาทีที่ 00.00 – 00.15   

https://twitter.com/ittipat_tv/status/1435268470581575689  นาทีที่ 00.01 – 00.13  

https://twitter.com/ittipat_tv/status/1435253189117239306  นาทีที่ 00.01 – 00.07  /  00.19 – 00.41 

https://twitter.com/ittipat_tv/status/1435253189117239306  นาทีที่ 00.29 – 00.48 

ระเบิดขวด หรือ ระเบิดเพลิง หรือ Molotov Cocktail 

https://twitter.com/ittipat_tv/status/1435253189117239306  นาทีที่ 00.01 /  00.07 – 00.36

ตัวอย่างระเบิดขวดที่ผู้ชุมนุมในฮ่องกงนำมาใช้ตอบโต้เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ภาพจาก เพจบูรพาไม่แพ้ https://web.facebook.com/TheDongFangBubai/photos/a.541063909609692/873757676340312/

แก๊สน้ำตา เสียงดัง “ปุ้ง” เพราะคฝ. 1 คนยิงได้ครั้งละ 1 นัด หากจะยิงอีกครั้งต้องโหลดแก็สน้ำตากระป๋องใหม่เข้าไปในปืนก่อน

https://www.youtube.com/watch?v=W8f8kgdCk9Y  นาทีที่ 00.30  /  01.00 – 01.01  / 01.16  /  01.38  /  01.56  /  02.10 – 02.14  /  02.40  /  02.46  /  02.49  /  03.49 

https://www.youtube.com/watch?v=I4XSoJ41bnE   นาทีที่ 00.34  /  00.44  /  00.51 

ตัวอย่างกระป๋องแก๊สน้ำตาแบบยิงที่ตกอยู่ในพื้นที่ที่มีการสลายการชุมนุม 
ภาพโดย อินทร์แก้วโอภานุเคราะห์กุล / Workpoint TODAY https://twitter.com/InkaewO/status/1373282695522840581
ตัวอย่างกระป๋องแก๊สน้ำตาแบบขว้างที่ตกอยู่ในพื้นที่ที่มีการสลายการชุมนุม
ภาพโดย ข่าวสดออนไลน์ https://twitter.com/KhaosodOnline/status/1359755590407311363

กระสุนยาง. เสียงดัง “แป๊กๆ” เพราะ คฝ. 1 คนอาจจะยิงครั้งละหลายนัด 

https://www.youtube.com/watch?v=SWlND-YMWdA  นาทีที่ 01.22 – 01.27  /   

02.16 – 02.22    /   02.55 –  02.58  /   03.07 –  03.23  /  03.54 – 04.13  /  05.08  /  06.40 – 06.57  /  07.15 – 07.23  /  07.38 – 07.44  

https://www.youtube.com/watch?v=JQGGpk6s3Iw  นาทีที่ 00.21 – 00.24  /  01.34 – 01.42  /  02.19 – 02.39  /  03.43 – 03.47  /  03.55 – 04.01  /  05.25 – 05.31 

https://www.youtube.com/watch?v=eEnzDKZfFTE  นาทีที่ 02.45 – 02.53  /  03.39 – 03.43  /  

https://twitter.com/ittipat_tv/status/1434853975132569600  นาทีที่ 00.23 – 00.25  /  01.28 – 01.37

ตัวอย่างหัวกระสุนยางที่ตกอยู่ในพื้นที่ที่มีการสลายการชุมนุม
ภาพโดย ไลลา ตาเฮ
ตัวอย่างปลอกกระสุนยางที่ตกอยู่ในพื้นที่ที่มีการการสลายการชุมนุม
ภาพโดย ไลลา ตาเฮ

LRAD. เสียงดัง “หวุยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ” เสียงเหมือนสัญญาณกันขโมยรถยนต์ซึ่งจะดังติดต่อกันไปอย่างนี้จนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะปิดเสียง

https://twitter.com/opol999/status/1437043561313169409  นาทีที่ 00.11 – 00.35 

https://www.youtube.com/watch?v=QSMyY3_dmrM  นาทีที่ 00.22 – 01.00 

ภาพโดย SpringNEWS https://www.springnews.co.th/news/802738

4. ควรจดจำใบหน้าบุคลิกของผู้ชุมนุม การ์ด หรือทีมงานผู้จัดการชุมนุมไว้เพื่อง่ายต่อการถ่ายภาพแอ๊กชั่นที่ต้องการและเพื่อให้ง่ายสำหรับการติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมในม็อบนั้นๆ เช่น ทีมงานไปเจรจาอะไรกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แกนนำสั่งให้เคลื่อนขบวนไปยังสถานที่ใด หรือกำลังจะมีกิจกรรมการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อะไร เป็นต้น

5. ควรรู้ว่าเราจะเล่าอะไรในภาพถ่ายเพื่อให้รู้ว่าจังหวะไหนควรถ่ายจังหวะไหนควรหลบหรือเดินเลี่ยงชิดซ้าย – ขวา ข้างใดข้างหนึ่งที่แยกจากผู้ชุมนุมหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างชัดเจน

6. ถ้าโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือผู้ชุมนุมสั่งห้ามให้เราถ่ายภาพเหตุการณ์ตอนนั้นเราก็ควรทำตามน้ำไปก่อนคือไม่ถ่ายเพื่อให้อีกฝ่ายสบายใจแล้วหลังจากนั้นเราจึงค่อยหาจังหวะถ่าย คืออาจจะเดินออกมาให้ห่างจากตรงนั้นก่อน เมื่ออยู่ในจุดที่ไม่มีใครสังเกตุหรือสนใจเราแล้วจึงค่อยถ่ายภาพโดยต้องรีบกดถ่ายแล้วรีบออกมาจากตรงนั้นทันที

7. แชร์ Live Location ใน Telegram กับเพื่อนหรือบุคคลที่ไว้ใจ

8. รีบถ่ายรีบออก ไม่ยืนแช่ให้ตัวเองเป็นเป้า หากยังอยากได้ภาพมุมนั้นอีก เมื่อถ่ายเสร็จแล้วก็ควรขึ้นไปยืนบนฟุตบาทหรือมองหาตู้ไฟ เสาไฟฟ้า รถที่จะสามารถหลบและออกไปถ่ายยังจุดที่ต้องการใหม่ได้อีกครั้ง

9. หาจุดที่หลบหรือยืนอยู่มีผู้ชุมนุมวิ่งมาหลบหรือใช้เป็นจุดตอบโต้เจ้าหน้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.) เราควรยืนยันความเป็นสื่อและบอกผู้ชุมนุมว่าจุดนี้เป็นพื้นที่ทำงานของสื่อ หากผู้ชุมนุมยืนยันจะอยู่ตรงนั้นต่อเราก็ต้องเป็นฝ่ายไปหาที่หลบใหม่

ข้อห้าม

  1. เข้าไปร่วมกิจกรรมการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์หรือร่วมปฏิบัติการกับผู้ชุมนุม เช่น เขียนข้อความบนป้ายผ้า, ช่วยลากตู้คอนเทนเนอร์, ช่วยจุดไฟ, ช่วยยกของ หรือช่วยตัดลวดหนาม เป็นต้น
  2. เดินถ่ายภาพเพียงลำพังคนเดียวเพราะหากเกิดอันตรายขึ้นจะไม่มีพยานบุคคลหรือพยานหลักฐาน  
  3. ใส่คอนแท็กเลนส์
  4. ยืนแช่ตรงที่โล่งหรือกลางแนวปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน (คฝ.) กับผู้ชุมนุมเพราะอาจจะทำให้ตกเป็นเป้าได้
  5. ใส่เสื้อผ้าที่มีข้อความทางการเมืองในเชิงเห็นด้วยหรือสนับสนุนผู้ชุมนุม
  6. ใช้มือเปล่าหยิบจับกระป๋องแก็สน้ำตา ประทัดยักษ์ ลูกแก้ว หรือสิ่งของที่ผู้ชุมนุมใช้ตอบโต้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะนอกจากจะได้รับบาดเจ็บแล้วอาจจะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคิดว่าเราเป็นผู้ชุมนุมได้ 

Tips & Tricks
การตั้งค่ากล้อง


1. การถ่ายตำรวจยิงกระสุนยางหรือแก๊สน้ำตา หรือถ่ายผู้ชุมนุมยิงพลุหรือดอกไม้ไฟ

หากเป็นตอนกลางวันให้ตั้งค่า Shutter Speed 1/200 ก็จะเห็นลูกไฟที่ออกจากปลายกระบอกปืนได้ชัดเจนมากขึ้น

2. ถ่ายควันแก๊สน้ำตา

สามารถตั้งค่าได้ปกติเหมือนถ่ายภาพผู้ชุมนุมถือป้ายประท้วงคือไม่จำเป็นต้องตั้งค่า Shutter Speed สูง  แต่ยังต้องสนใจค่า F Stop (รูรับแสง) อยู่  สิ่งสำคัญของการถ่ายควันแก็สน้ำตาคือเราต้องมั่นใจว่าเราใส่อุปกรณ์ป้องกันทุกอย่างดีแล้วเพราะยิ่งรัดกุมเท่าไหร่ก็จะยิ่งถ่ายควันแก็สน้ำตาได้นานเท่านั้น

ขอขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์:

ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ช่างภาพข่าวอิสระ

ผศ. กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ที่ปรึกษาสื่อออนไลน์ PLUS SEVEN 

ปฏิภัทร จันทร์ทอง ช่างภาพ Voice TV

ฉัทดนัย ทิพยวรรณ์ ช่างภาพ Voice TV

ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพ Getty Image

ทิฆัมพร ธรรมเที่ยง ช่างภาพ iLaw

เมธิชัย เตียวนะ ช่างภาพ The101.world

สืบค้นเพิ่มเติม

The Poynter Institute for Media Studies. (2021). 25 guidelines for journalists to safely cover unrest. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564 จาก https://www.poynter.org/reporting-editing/2021/25-guidelines-for-journalists-to-safely-cover-unrest/ 

กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 2. (2021). การควบคุมฝูงชน

Riot Control. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563 จากhttp://www.inv.p2.police.go.th/swat/riotcontrol.html 

สยามรัฐออนไลน์. (2021). ตัวแทนสื่อฯหารือร่วมตำรวจ กำหนดใช้สีเขียวสะท้อนแสง เพื่อความปลอดภัยทำข่าวในพื้นที่ชุมนุม. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563 จาก 

 https://siamrath.co.th/n/274746 https://www.youtube.com/watch?v=ZvfoOfFy_n4&t=4s 

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. (2021). ผลประชุม องค์กรสื่อ กับ ผบช.น. หารือการทำงานสื่อมวลชนในพื้นที่ชุมนุม. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563 จาก

https://www.tja.or.th/view/activities/media-movements/947233

Outdoor eXpert. (2021). จัดกระเป๋าปฐมพยาบาล(IFAK) ไปสนามยิงปืน. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563 จาก https://www.youtube.com/watch?v=ZvfoOfFy_n4&t=4s 

I William. (2021). ชุดปฐมพยาบาลทำด้วยตัวเอง | ทักษะทหาร. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563 จาก https://www.youtube.com/watch?v=4gQiFDsd4yI&t=39s 

Airsoft How To. (2021). รีวิว MARCH IFAK Resupply ชุดปฐมพยาบาลสนาม. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563 จาก https://www.youtube.com/watch?v=_yzjXYcJIs4 

หมายเหตุ: งานชิ้นนี้เป็นหนึ่งในผลงานจากโครงการสกัดความรู้การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในไทย จัดโดย Act Lab เมื่อ ส.ค.-ก.ย. 2564 โดยมุ่งหวังว่าผลงานชุดนี้จะเป็นฐานข้อมูลให้กับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในไทยต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • ยอมให้เก็บข้อมูลสถิติ

    เราเก็บข้อมูลสถิติซึ่งประกอบด้วย IP Address และอื่นๆ ตามที่ Google analytic เรียกดู

บันทึกการตั้งค่า