จากปฏิบัติการสู่การสื่อสาร

เทคนิคการสื่อสารบนโซเชียลมีเดีย

เราต้องการสื่อสารอะไร มีเป้าหมาย เข้าใจเงื่อนไข ทำต่อเนื่อง

เราอยากจะบอกอะไรโดยมีเป้าหมายและเข้าใจเงื่อนไข ยกตัวอย่างเช่น วันนี้เราจำอะไรได้แล้วรู้สึกดี ทำไมถึงจำได้ หรือสิ่งที่เราประทับใจและเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวปฏิบัติการของเรา?

สองปีที่ผ่านมาของประเทศไทยเนื้อหาที่มีคนชอบเป็นอันต้นๆ มีแค่สองแบบ คือ หนึ่ง ดูแล้วรู้สึกดีมีความสุข คลิปหมาแมว คลิปตลก กับสอง ดูแล้วรู้สึกไม่ค่อยดี เห็นเหยื่อเห็นผู้ถูกกระทำ ดูแล้วอึดอัด เช่นคลิปบีบสิว ข่าวอาชญากรรม

เนื้อหาที่ว่าด้วยการขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวเป็นประเด็นที่ niche เป็นประเด็นที่เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสนใจมัน มันเป็นประเด็นที่คนสนใจน้อยกว่าอื่นๆ อยู่แล้ว แต่เพียงแค่เราหาให้เจอว่ามันเกี่ยวข้องกับคนอื่นยังไง และทำอย่างสม่ำเสมอ ทำมันต่อเนื่อง

ขยายความสนใจของคนกลุ่มเดียวกันไปยังคนอีกกลุ่ม
ทำให้เห็นว่าสิ่งที่เราทำเกี่ยวข้องกับคนอื่นอย่างไร 

ในการสื่อสาร เราต้องพยายามขยายความสนใจของคนกลุ่มเดียวกันไปที่คนอีกกลุ่มหนึ่ง  ใครคือคนที่พร้อมฟัง VS คนที่ไม่พร้อมฟังเรื่องที่เรากำลังเคลื่อนไหว  หาแง่มุมบางอย่างที่เชื่อมและเกาะเกี่ยวกับกระแสข่าวสารในสังคมได้ อย่าเคลื่อนไหวแต่เรื่องของตัวเองให้มองรอบๆ ตัว

บนพื้นที่อินเทอร์เน็ตสิ่งที่จะชวนเขาทำได้อย่างน้อยคือเขามาพูดคุยกับเราหรือเขาแชร์ไปบอกต่อ คนที่แชร์เรื่องนี้คือคนที่เห็นว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับเขา ทำให้มันต่อเนื่องได้โดยเกาะเกี่ยวเรื่องของคนอื่นด้วย นี่คือที่ง่ายที่สุด นี่คือประเด็นของเรากับประเด็นของคนอื่นมีวิธีมาเจอกันแบบนี้ คุณสามารถพาประเด็นของคุณร่วมไปกับคนอื่น  Material วัตถุดิบในการมาสร้างเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเป็นวัตถุดิบที่คุณเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อยๆ

เรากำลังพยายามจะสื่อสารกับคนแบบไหนอยู่บ้าง นึกหน้าคนสุดโต่งทั้งสองฝั่งเพื่อให้เห็น range ของมันว่าคนที่ฟังแน่ๆ กับไม่ฟังแน่ๆ มันห่างกันขนาดไหน แต่เวลาเราใช้พื้นที่อินเตอร์เน็ตมันอาจไม่ได้ห่างกันอย่างที่คิด และไม่ได้หมายความว่าทุกครั้งที่เราคุยกับคนฝั่งนี้คนอีกฝั่งจะไม่เห็น ทุกครั้งที่สื่อสารบนอินเทอร์เน็ตเราไม่รู้หรอกว่าใครเห็นบ้าง เรารู้แค่ว่าใคร react กับเรา

Material วัตถุดิบในการสร้างเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว 

ทุกแอ๊กชั่นของเราประกอบด้วย 3 ระยะ 

  • ก่อนแอ๊กชั่น.  การคิดวางแผนเตรียมการ เผชิญอุปสรรคอะไร อะไรทำให้เปลี่ยนแผน 
  • ระหว่างแอ๊กชั่น. เจอปัญหาอะไร อะไรที่ไม่เป็นไปตามแผน มีคนถูกกระทำหรือถูกขัดขวางยังไง 
  • หลังแอ๊กชั่น. เกิดอะไรขึ้นแล้ว บทเรียนที่ได้ คลี่คลายยังไง

ไม่ได้แปลว่าแอ๊กชั่นของเราต้องประสบความสำเร็จ สมมติไปขว้างน้ำบูดูใส่เชฟรอน ไม่มีผลอะไรตามมา แต่สิ่งที่เราเล่าได้คือวิธีการสิ่งนี้เกิดขึ้นไปแล้วและสิ่งนี้บอกถึงความโกรธของคนในพื้นที่ หลังจากนั้นเรากลับไปคุยกับคนที่บ้านก็ได้ ทำไมถึงขว้างเล่าให้เราฟังหน่อย ขว้างไปแล้วรู้สึกยังไง มันคลี่คลายรึเปล่าคลี่คลายยังไงแล้วจะทำอะไรต่อ นี่จะเป็นอีกวัตถุดิบที่เอามาใช้ได้ แล้วก็วนลูปอย่างนี้เพราะเราจะทำแอ๊กชั่นกันต่อไปเรื่อยๆ แปลว่าคุณมีของให้เเล่าตลอดเวลา

นึกให้เห็นหน้าตาของคนที่เราจะสื่อสารด้วย เป็นคนที่มีตัวตนมีชีวิตมีความคิดความรู้สึก 

เริ่มจากนึกถึงคนที่พร้อมจะฟังเราแน่ๆ กับคนไม่พร้อมฟังเราแน่ๆ ให้ลิสต์จุดร่วมของคนสองคนนี้ออกมาให้มากที่สุด แล้วสร้างเรื่องเล่าที่จะคุยกับคนสองฝั่งได้ หาวิธีสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตรูปแบบไหนก็ได้ที่จะทำให้เขาสองคนได้ยินและเห็นมัน

พยายามให้เห็นว่าคนสองฝั่งนี้มีตัวตน เป็นคนที่มีชีวิต เพราะเวลาที่เราจะสื่อสารกับเขาเราสื่อสารกับคนที่มีความคิดมีความรู้สึก แต่คนเหล่านี้ไม่ได้มีแค่คนเดียว มีคนแบบเขาอีกเยอะมากก็จะมีจุดร่วมซ้อนกันไปซ้อนกันมา มีคนแบบนี้อยู่คนละฝั่ง แปลว่าถ้าเราพยายามทำให้อย่างน้อยการขยับไปทีละช่องของสายรุ้ง คือคนที่อยู่คนละฝั่งบนอินเทอร์เน็ตสามารถเสพข้อมูลชุดเดียวกันได้ เป็นกระบวนการโน้มน้าวด้วยการให้ข้อมูลบางชุดให้เรื่องเล่าบางอย่าง นี่คือสิ่งที่พื้นที่อินเตอร์เน็ตทำได้และลงทุนต่ำมาก และสามารถเห็นผลที่ตามมาได้ว่าคนสนใจมันมั้ย คนคอมเม้นต์สิ่งนี้ว่ายังไง คนที่ดูอยู่คือใครบ้าง

เนื้อหาหลักให้เร็วและกระชับที่สุด เห็นแวบเดียวแล้วรู้ว่าจะสื่ออะไร 

ถ้าจะทำอะไรบนอินเทอร์เน็ตถ้าเป็นไปได้เนื้อหาหลักมาให้เร็ว ถ้าจะเล่าให้เขารู้สึกดีให้รู้สึกดีเร็วที่สุด ถ้าจะเล่าให้เขารู้สึกแย่ให้รู้สึกแย่เร็วที่สุด ถ้าจะให้เขาได้ข้อมูลชุดนี้หรือประเด็นนี้ให้เขาได้รู้ให้มันเร็วที่สุด คือวิธีที่มักจะได้ผล พฤติกรรมบนอินเตอร์เน็ตเราหวังน้ำบ่อหน้าเสมอ เราคิดว่าเราจะปั่นให้เร็วที่สุด ต่อให้เขาเห็นแค่แวบเดียว ถ้าพยางค์แรกมันรู้เรื่องมันได้เลย ทำให้เร็วและกระชับที่สุด ถ้าอยากเล่ารายละเอียดเนื้อหามาเล่าซ้ำอีกรอบได้ แต่อย่างน้อยคนได้เห็นแล้วว่าสารที่คุณอยากบอกคืออะไร นี่คือวิธีที่มักจะได้ผล

หน้าตาของเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต

  1. เป็นตัวหนังสือ ถ้าไม่เกิน 4 บรรทัดเห็นตั้งแต่ต้นจนจบ ถ้าเกิน 4 บรรทัดต้องกดอ่านต่อ
  2. เป็นรูปภาพ ภาพจะขึ้นมาก่อนและตัวหนังสือตามมาข้างล่างเมื่อถูกแชร์ ถ้าเป็นรูปภาพหลายรูปจะมีภาพใหญ่ 1 ภาพ ภาพเล็ก 3 ภาพ
  3. เป็นวิดีโอ คนส่วนใหญ่จะไม่ปิดฟังก์ชั่น autoplay แปลว่ามันจะเล่นเลยถ้าเขาปัดผ่าน โดยสถิติแล้ววิดีโอทำงานที่สุดแต่ก็เป็นอันที่เราทำงานยากที่สุด

ที่มา: เก็บความจาก ธันว์ echo, “จากปฏิบัติการสู่การสื่อสาร (communication guide: from action to reaction)”, Act Lab no.1: Basic tools for act dev. วันที่ 31 ม.ค.-2 ก.พ. 2563 ณ วีเทรน กทม.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • ยอมให้เก็บข้อมูลสถิติ

    เราเก็บข้อมูลสถิติซึ่งประกอบด้วย IP Address และอื่นๆ ตามที่ Google analytic เรียกดู

บันทึกการตั้งค่า