ปฏิบัติการแต่ละครั้งต้องใช้พลังงานมหาศาล ดังนั้นเราต้องมั่นใจว่าการไปเข้าร่วมของเราต้องได้ผล เราเข้าร่วมเพื่อหนุนเสริมปฏิบัติการ เราแต่ละคนทำสิ่งต่างๆ ได้อีกมาก และยุทธวิธีทั้งหลายย่อมเสี่ยงมากน้อยต่างกันไป เราจึงตระหนักและเต็มใจรับความเสี่ยงขณะเข้าร่วม
ตระหนักว่าความเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงของเราเปลี่ยนไปตลอดช่วงปฏิบัติการ และพฤติกรรมของตำรวจจงใจทำให้เรากลัว ถ้าเรายอมให้ความกลัวชนะเราเท่ากับยอมให้ระบอบที่เราต่อสู้อยู่ชนะ ฮอปกิ้นส์เคยกล่าวไว้ในสารคดี This is What Democracy Looks Like (2000) ว่า “ความกลัวที่คุณกำลังรู้สึก ก็คือการได้ลิ้มรสเสรีภาพเป็นครั้งแรก”

แนวทางจัดการความเสี่ยง
ศัพท์เกี่ยวกับความเสี่ยง
ในการเตรียมตัวไปประท้วง นักกิจกรรมทุกคนควรจะ
ระบบบัดดี้ และกลุ่มเครือสหาย
บัดดี้
คือกลุ่มคน 2 หรือ 3 คนที่เกาะกลุ่มและดูแลกันและกันตลอดช่วงปฏิบัติการ การเป็นบัดดี้หมายถึงเราจะไม่ทอดทิ้งคนในกลุ่มและสร้างหลักประกันว่าไม่มีใครถูกหลงลืม.
บัดดี้ต้อง
- รู้ว่าบัดดี้ของตนมีโรคประจำตัวอะไรเป็นพิเศษหรือไม่
- คอยตรวจสอบว่าบัดดี้ยังเกาะกลุ่มอยู่
- คอยดูแลใส่ใจทั้งในเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า การรักษาพยาบาล
- ออกจากที่ชุมนุมพร้อมบัดดี้หากเขาต้องการไป ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร
- คอยสังเกตดูอารมณ์ของบัดดี้และพยายามปลอบให้เขาสงบลงเมื่อจำเป็น
- บอกฝ่ายสนับสนุนทางกฎหมายหากบัดดี้ถูกจับ
- เรียกหาผู้สังเกตการณ์และแพทย์พยาบาลเมื่อบัดดี้ถูกทำร้ายบาดเจ็บ
กลุ่มเครือสหาย (Affinity Group)
คือกลุ่มเล็กๆ ที่เตรียมตัวและออกปฏิบัติการร่วมกัน กลุ่มเครือสหายมีการนำของตัวเอง สามารถปฏิบัติการเองหรือเป็นกลุ่มอิสระภายในกลุ่มประท้วงใหญ่ การทำงานเป็นกลุ่มเครือสหายจะช่วยให้เราปกป้องตัวเองได้ดีที่สุดในระหว่างปฏิบัติการ. บทบาทและหน้าที่อาจจัดแบ่งในระหว่างสมาชิก สมาชิกคอยช่วยเหลือกันและกันในด้านอารมณ์และในกรณีถูกจับหรือบาดเจ็บ. ขนาดกำลังดีของกลุ่มคือ 6-12 คน ภายในกลุ่มควรแบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละ 3-4 คนที่เกาะกลุ่มกันในระบบบัดดี้ กลุ่มเครือสหายต้องเกาะเกี่ยวกัน ทำงานกันเป็นทีม อาจตั้งชื่อกลุ่มสั้นๆ เรียกง่ายๆ ไว้ตะโกนหากันตอนพลัดหลงกันในที่ชุมนุม