คู่มือจัดตั้ง 2: กระบวนการเรียนรู้และการประชุม

คำว่างานจัดตั้งมักถูกปฏิเสธในหมู่เสรีชน ด้วยมองว่าเป็นการเข้ามาครอบงำและชี้นำทางความคิดโดยเหล่ารุ่นพี่อาวุโสทำให้ไม่มีโอกาสคิดกระทำการใดได้อย่างอิสระ

ในความเป็นจริง คำว่างานจัดตั้งหรือ organizing ก็คือการจัดองค์กร ตั้งทีม สร้างกลุ่ม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นระบบสั่งการแบบ พคท. งานจัดตั้งเป็นเงื่อนไขสำคัญและจำเป็นในการทำให้กลุ่มเข้มแข็ง เพราะกลุ่มคือรากฐานของขบวนการต่อสู้ที่จะทำให้ขบวนการดำรงอยู่ หากไม่มีกลุ่มองค์กรไว้รองรับมวลชนก็จะลุกฮือขึ้นแล้วหายไป ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีกลุ่มจัดตั้ง

งานจัดตั้งมี 2 ส่วน คืองานจัดการศึกษา กับงานจัดองค์กร ทั้งสองส่วนนี้ต้องทำควบคู่กันไป ถ้าทำงานจัดการศึกษาอย่างเดียวเรียกว่า “กลุ่มศึกษา” ขณะที่ “กลุ่มปฏิบัติการ” รวมตัวกันปฏิบัติการเคลื่อนไหวเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว มีเป้าหมายร่วมกันแต่อาจไม่ได้มีแนวคิดอุดมการณ์ความเชื่อคุณค่าที่ยึดถือไปในทิศทางเดียวกันก็เป็นได้

กลุ่มจัดตั้งจึงเป็นมากกว่ากลุ่มศึกษาหรือกลุ่มปฏิบัติการ การจัดตั้งกลุ่มจึงต้องทำทั้งงานจัดการศึกษาและจัดองค์กรไปพร้อมๆ กัน

คู่มือนี้จะนำเสนอชุดความรู้และทักษะในการทำงานจัดตั้งทั้ง 2 ส่วน

1. ชุดความรู้ในการจัดองค์กร

  • อำนาจ 3 แบบ
  • การเสริมสร้างพลังอำนาจ 3 ระดับ
  • การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในกลุ่ม
  • วงจรบริหารจัดการอาสาสมัครให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนกลุ่ม/องค์กร
  • ครรลองการประชุม 6 ขั้น

2. ชุดความรู้ในการจัดการศึกษา

  • การตั้งคำถาม 
  • คำถามประเภทต่างๆ
  • คำถามวงจัดการศึกษา
  • คำถามเพื่อการถอดบทเรียน
  • ชุดคำถามเพื่อความเป็นธรรม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว