5.00
(2 จัดอันดับ)

ฟาสามัญออนไลน์

ไม่มีหมวดหมู่
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

การเอื้ออำนวยความสะดวก หรือ facilitate เป็นทักษะที่ช่วยให้นักกิจกรรมสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นกลุ่มได้ การฟาฯ เป็นปฏิบัติการที่ท้าทายความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบเดิม ๆ ที่ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงกัน มาเป็นการร่วมมือและเติบโตไปด้วยกัน คอร์สนี้เน้นไปที่ทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นเช่นการฟัง การทวน การถาม การสร้างพื้นที่ปลอดภัย โดยแบ่งเป็นตอนสั้น ๆ เพื่อทำความเข้าใจทีละขั้นตอน ผู้ที่สนใจเนื้อหาทางทฤษฎีสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ การศึกษาสำหรับผู้ถูกกดขี่ เขียนโดย เปาโล เฟรเร และในเวบไซต์ แอคแลปได้

เนื้อหาของคอร์ส

บทที่ 1 อะไรวะ ฟาสามัญ
ฟาสามัญคืออะไร มีบทบาทหน้าที่อะไร แตกต่างจากบทบาทอื่นๆ ที่คล้ายกันอย่างไร

  • ฟาสามัญคืออะไร มีบทบาทหน้าที่อะไร
    03:56
  • หลักการแนวคิดพื้นฐานของฟาสามัญ
    04:20
  • ความแตกต่างระหว่างฟากับบทบาทหน้าที่อื่นๆ
    04:06

บทที่ 2 วงจรการศึกษาของประชาชน
วงจรการศึกษาของประชาชน (Popular Education) เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่เน้นไปที่การท้าทายความสัมพันธ์ทางอำนาจ

บทที่ 3 จากทฤษฎีสนทนาสู่พื้นที่ปลอดภัย
มาพบกับแนวคิดการสนทนาและการสร้างพื้นที่ปลอดภัย แนวคิดและเครื่องมือสำคัญของฟาสามัญ พื้นที่ปลอดภัย มิใช่พื้นที่ที่เราจะมาพะเน้าพะนอชื่นชมอวยพรยินดีอบอุ่นและบอกว่าเป็นพื้นที่ของความรักความปรารถนาดีต่อกัน แต่พื้นที่ปลอดภัยในความหมายฟาสามัญ คือพื้นที่ที่ปลดปล่อยเราออกจากอิทธิพลของแนวคิดต่อต้านการสนทนา เป็นพื้นที่ที่แนวคิดการสนทนาได้ทำงานอย่างเต็มที่ พื้นที่ปลอดภัยจะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง และคนที่พร้อมจะขัดแย้งกันตลอดเวลา เพื่อแสวงหาข้อตกลงร่วมกัน สร้างพลังไปข้างหน้าด้วยกัน เราจะทะเลาะกันได้สนุกขึ้นในพื้นที่นี้ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยจะนำไปสู่การสนทนาที่เอื้อให้เกิดการท้าทายความสัมพันธ์ทางอำนาจ และนำไปสู่การจัดสรรความสัมพันธ์ทางอำนาจใหม่ อันเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของฟาสามัญ

บทที่ 4 – การฟัง 3 ระดับฉบับฟาสามัญ
ฟาสามัญมองการฟังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเสริมสร้างพลังอำนาจ เราอาจจะเคยเรียนรู้การฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังด้วยหัวใจ ฟังอย่างใส่ใจ หรืออื่นใด เพื่อการเยียวยา ดูแลความสัมพันธ์ มาบ้างแล้ว ในการเคลื่อนวงเพื่อท้าทายความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ไม่เท่าเทียม ฟาสามัญจะชวนผู้คนฟังเพื่อตนเอง ฟังเพื่อผู้อื่น และฟังเพื่อกลุ่ม เราจะมาแยกแยะประโยชน์ของการฟังแต่ละระดับ เพื่อให้สามารถใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันในระหว่างการขับเคลื่อนสังคมไปด้วยกัน

บทที่ 5 – การตั้งคำถามเพื่อสร้างวัฒนธรรมการสนทนา
ในบทนี้เรามาพบกับเครื่องมือสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของฟาสามัญ คือการตั้งคำถาม การตั้งคำถามที่ดีจะช่วยให้วงเคลื่อนไปข้างหน้า ในวัฒนธรรมเงียบ การตั้งคำถามของเราจะตกอยู่ในเครื่องมือของแนวคิดการต่อต้านการสนทนาคือตั้งคำถามเพื่อเอาชนะ แบ่งแยก ครอบงำ และรุกรานทางวัฒนธรรม แต่ฟาสามัญจะใช้คำถามเพื่อช่วยขับเคลื่อนวงสนทนาให้แบ่งปันแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ได้ร่วมมือ เป็นหนึ่งเดียว จัดตั้ง และสร้างวัฒนธรรมร่วมกัน เราจะมาพบกับหลักการตั้งคำถามปลายเปิดและปลายปิด อันเป็นพื้นฐานสำคัญ แล้วมาทำความรู้จักกับการตั้งคำถามที่เก็บเกี่ยว เจาะลึก และต่อเนื่อง เพื่อสร้างบทสนทนาที่ลึกขึ้น จนไปถึงการสร้างโครงคำถามเพื่อเคลื่อนวงสู่เป้าหมายในที่สุด

บทที่ 6 – ทักษะการทวนคำพูดในวงสนทนา
ในบทนี้เรามาพบกับเครื่องมือสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของฟาสามัญ คือการทวนคำพูด การฟังที่ดีจะช่วยให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย การตั้งคำถามที่ดีจะช่วยให้วงเคลื่อนไปข้างหน้า ส่วนการทวนจะช่วยให้วงเคลื่อนไปอย่างลื่นไหล การทวนจะช่วยทำให้การสนทนาไม่เป็นเพียงการถามตอบทื่อๆ ถามคำตอบคำ หรือการซักไซร้ไล่เรียง การจี้ถาม หรือการสนทนาฝืด ๆ ในวัฒนธรรมเงียบ การสนทนาของเราจะไม่สามารถไว้วางใจคู่สนทนาได้เต็มที่ เราจะระมัดระวังที่จะถูกตัดสิน กลัวผิด กลัวคนไม่เข้าใจ การทวนคำพูดจะช่วยลดความกลัวเหล่านี้ด้วยการสร้างบรรยากาศของการสนทนาที่จะมุ่งทำความเข้าใจกันและกัน แม้จะขัดแย้งกันหรือไม่ก็ตาม การทวนจะช่วยให้การสนทนาเคลื่อนไปอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การฟัง การทำความเข้าใจ การตรวจสอบความเข้าใจ แล้วจึงแสดงความเห็นหรือถามต่อ ฟาสามัญจะใช้การฟัง การตั้งคำถาม และการทวน ผสมผสานกันจนเป็นการสนทนากลุ่มที่มีพื้นที่ปลอดภัยและเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างลื่นไหล

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

5.0
ทั้งหมด 2 คะแนน
5
2 การจัดอันดับ
4
0 การจัดอันดับ
3
0 การจัดอันดับ
2
0 การจัดอันดับ
1
0 การจัดอันดับ
TS
3 เดือน มาแล้ว
ทำให้เข้าใจการเป็นฟาที่มากไปกว่าสร้างการเรียนรู้ แต่สร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม
A
3 ปี มาแล้ว
ดีมาก แบ่งเป็นบทย่อยๆ ทำให้มาตามดูที่ละบททีละตอนได้ง่าย